by zalim-code.comby zalim-code.comby zalim-code.comby zalim-code.com
คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ
แจ้งผู้เยี่ยมชม บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้ประโยชน์ความรู้ทางการบัญชีและบริหาร

เปลี่ยนภาษา

ฟังเพลงคลายเครียดก่อนนะค่ะ^^
by zalim-code.comby zalim-code.com

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

จรรยาบรรณผู้บริหารและพนักงาน



         บริษัทฯ กำหนดจรรยาบรรณผู้บริหารและพนักงาน เพื่อใช้เป็นหลักปฏิบัติสำหรับผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯ ดังนี้

1) ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและมีสำนึกรับผิดชอบในภารกิจที่ได้รับมอบหมาย รวมถึงผลกระทบที่อาจมีต่อผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งในด้านสุขภาพอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

2) ดูแลรักษาผลประโยชน์ของบริษัทฯ และใช้ทรัพย์สินของบริษัทฯ อย่างคุ้มค่าและประหยัด โดยไม่นำทรัพย์สินของบริษัทฯ ไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัว

3) หมั่นตรวจสอบและปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดอย่างต่อเนื่อง

4) ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามจรรยาบรรณและค่านิยมของบริษัทฯ และไม่กระทำการใดๆ ที่ขัดต่อศีลธรรม กฎหมาย ระเบียบ ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการทำงานของบริษัทฯ รวมทั้งมีจิตสำนึกในการต่อต้านการทุจริต

5) เสริมสร้างสัมพันธภาพในการทำงานที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน ลูกค้า คู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ บนพื้นฐานของการให้เกียรติและความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

6) ใฝ่หาความรู้และนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในงานอย่างต่อเนื่อง และแบ่งปันความรู้กับเพื่อนร่วมงานเพื่อให้เกิดการพัฒนาความรู้ ทักษะและความสามารถของพนักงาน และสร้างฐานความรู้ที่เป็นปัจจัยในความสำเร็จให้แก่บริษัทฯ

7) รักษาข้อมูลความลับของบริษัทฯ ลูกค้า คู่ค้า และพันธมิตรทางธุรกิจ โดยไม่นำไปเปิดเผยต่อบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต

8) การเข้ารับตำแหน่งในสถาบันวิชาชีพ หรืองานบริการสาธารณะจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อน

9) ไม่เปิดเผยข่าวสารหรือให้ข้อมูลต่อบุคคลอื่น หรือกระทำการใดๆ ที่อาจนำความเสื่อมเสียแก่ภาพลักษณ์ของบริษัทฯ และทำให้บริษัทฯ เสียผลประโยชน์

10) ไม่ปกปิดความผิด หรือการกระทำใดๆ ที่อาจส่อไปในทางที่ผิดหรืออาจเป็นต้นเหตุให้เกิดการกระทำผิด และให้รายงานผู้บังคับบัญชาทราบในทันที เพื่อหาแนวทางแก้ไขและป้องกัน ก่อนที่จะมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น

11) ไม่แสวงหาประโยชน์ในทางที่มิชอบจากตำแหน่งหน้าที่หรือชื่อเสียงของบริษัทฯ

12) ไม่รับของขวัญหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ผิดไปจากธรรมเนียมปฏิบัติหรือเกินความเหมาะสมจากบุคคลที่บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจด้วย นอกเหนือจากผลตอบแทนอันพึงได้จากบริษัทฯ

13) ไม่ประกอบธุรกิจหรือให้เครือญาติประกอบธุรกิจที่แข่งขันกับบริษัทฯ
14) ไม่นำชื่อหรือสัญลักษณ์บริษัทฯ ไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อแสวงประโยชน์หรือเพื่อเรียกร้องความสนใจหรือบริการอื่นๆ อันอาจจะทำให้เป็นผลเสียหายต่อภาพลักษณ์ของบริษัทฯ
15) ไม่ก่อภาระผูกพันทางการเงินกับบุคคลที่ทำธุรกิจกับบริษัทฯ

16) เคารพในหลักการของสิทธิมนุษยชนที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป


ที่มา : http://www.pttar.com/

การร่วมค้า


       การร่วมค้า หมายถึง การประกอบกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจของบุคคลหรือกิจการอย่างน้อยสองราย โดยมีการควบคุมร่วมกันตามที่ตกลงไว้ในสัญญา

ลักษณะของกิจการร่วมค้า
1. โครงสร้าง การร่วมค้าประกอบด้วยบุคคลหรือกิจการตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปลงทุนร่วมกัน เพื่อประกอบกิจการค้า
2. วัตถุประสงค์ การร่วมค้ามีวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจงเพื่อแสวงหากำไรร่วมกัน
3. ระยะเวลาการดำเนินงาน การร่วมค้าเป็นกิจการที่ทำขึ้นในระยะเวลาสั้น เมื่อบรรลุวัตถุประสงค์แล้วก็จะเลิกกิจการ

ประโยชน์ของกิจการร่วมค้า
1. เพื่อผสมผสานทรัพยากร เทคโนโลยี ความรู้ความชำนาญของแต่ละฝ่ายเข้าด้วยกัน ในกรณีการจัดทำโครงการที่ต้องใช้ความรู้และความชำนาญสูง
2. กิจการมีโอกาสได้ลงทุนในโครงการที่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ซึ่งกิจการไม่สามารถลงทุนได้เพียงผู้เดียว
3. เพื่อกระจายความเสี่ยงจากการลงทุน

รูปแบบของการร่วมค้า
1. การควบคุมร่วมในการดำเนินงาน (Jointly Controlled Operations)
2. การควบคุมร่วมในสินทรัพย์ (Jointly Controlled Assets)
3. การควบคุมร่วมในกิจการ (Jointly Controlled Entities)
การควบคุมร่วมในการดำเนินงาน (Jointly Controlled Operations)

การควบคุมร่วมในการดำเนินงาน มีลักษณะการดำเนินงาน ดังนี้
1. ไม่มีการจัดตั้งเป็นบริษัท
2. ไม่มีการแยกโครงสร้างการเงินจากผู้ร่วมค้า
3. ผู้ร่วมค้าจะใช้ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ของตนเอง
4. ผู้ร่วมค้าต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย และหนี้สินของตนเอง
5. มีการกำหนดการจัดสรรผลตอบแทนและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นรวมกันไว้ในสัญญา
6. ไม่ต้องจัดทำงบการเงินของกิจการร่วมค้า


ที่มา:http://coursewares.mju.ac.th:81/e-learning47/section2/ac401/Chapter-04-01.htm

ตัวแทนจำหน่าย






ตัวแทนจำหน่าย คือ ตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทอย่างเป็นทางการสามารถจำหน่ายจ่ายแจกสินค้า
ให้กับทั้งตัวแทนขาย หรือ ตัวแทนจำหน่ายหลายย่อย หรือลูกค้าทั่วไป และ มีทีมงานเจ้าหน้าที่คอยบริการลูกค้าสำหรับบริการหลังการขาย (after sale services)

เงื่อนไขตัวแทนจำหน่าย
1. ตัวแทนจำหน่ายต้องเป็นบุคคล หรือ นิติบุคคล
2. มีสำนักงานที่ตั้งในพื้นที่พร้อมดำเนินการ
3. ตัวแทนจำหน่ายต้องทำการตลาดและจำหน่ายสินค้า กะปุกท็อปอัพ
4. ต้องสั่งซื้อต้สำหรับเตรียมพร้อมจำหน่ายขั้นต่ำ 10 เครื่อง ในการสมัครเข้ามาครั้งแรก
5. ทั้งนี้ต้องได้รับการอนุมัติแต่งตั้งจาก คณะกรรมการของบริษัท

ส่วนลดการขายบริษัทจะให้ส่วนลดการขายกับศูนย์บริการ โดยขึ้นกับความสามารถของศูนย์บริการในการขยายตลาด

รูปแบบการจำหน่ายให้กับกะปุกท็อปอัพ1. การจำหน่ายรูปแบบขายขาด

2. การจำหน่ายรูปแบบของเฟรนไชส์ของบริษัทฯ
3. การจำหน่ายในรูปแบบเป็นนายทุนเอง และจำหน่ายเฟรนไชส์ด้วยตนเอง
** รายได้ขึ้นอยู่กับรูปแบบการจำหน่าย และการอนุมัติจากบริษัทฯ

พื้นที่ในการจัดจำหน่าย
ตัวแทนจะมีสิทธิในพื้นที่ที่ทำการร้องขอในการทำสัญญา หรือบริษัทพิจารณาพื้นที่การเป็นตัวแทนจำหน่ายให้

หน้าที่ของศูนย์บริการ
1. ทำการตลาดและการจัดจำหน่ายตามนโยบายของบริษัท
2. จำหน่ายและส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า พร้อมการติดตั้ง
3. มีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการแนะนำ, ปรึกษา และการสนับสนุนการจัดจำหน่ายแก่ตัวแทนขาย
4. มีทีมช่างที่ออกติดตั้งและดูแลบริการหลังการขายในพื้นที่รับผิดชอบ
5. ควบคุมมาตรฐานของการเป็นตัวแทนจำหน่าย ในด้านการทำตามนโยบายบริษัทฯ การบริการหลังการขายที่ดีให้กับลูกค้า

การสนับสนุนของบริษัท
1. สนับสนุนข้อมูลการจัดจำหน่ายกะปุกท็อปอัพ, การส่งเสริมการขายต่างๆ ให้กับตัวแทนจำหน่าย
2. การแจกเอกสารประชาสัมพันธ์ เช่น แผ่นพับ
3. มีการโฆษณาผ่านสื่อต่าง เช่น หนังสือ หรือ หน้าเว็บของบริษัท
4. มีระบบงานสำหรับการจัดจำหน่ายที่เป็นผู้ลงทุนตู้ และสามารถบริหารตู้เองได้



ที่มา:http://www.kapooktopup.com/dealer.php

ระบบบัญชี

ระบบบัญชี (The Function of Accounting)

ระบบบัญชี หมายถึง ระบบการประมวลผลข้อมูลทางการบัญชี และเป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้ไปใช้ ประโยชน์ในเชิงบริหาร
ระบบบัญชีเป็นระบบที่รองรับรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการต่างๆ ทางธุรกิจ ซึ่งท่านสามารถกำหนดข้อมูลพื้นฐานทางบัญชีได้ตามโครงสร้างของบริษัทและผังบัญชีของบริษัท ซึ่งรายการทางบัญชีจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อมีการทำธุรกรรมต่างๆ ในแต่ละระบบงาน และระบบบัญชีจะรองรับการคำนวณสินค้าคงคลัง

1. ระบบซื้อ (Purchase System)
-ดำเนินธุรกรรมในระบบซื้อ เช่น รายงานภาษีซื้อ, รับสินค้า / รับใบแจ้งหนี้, ใบลดหนี้ (ส่งคืนสินค้า)
-ระบบจะตรวจสอบเครดิตของลูกค้าให้อัตโนมัติเมื่อมีการทำธุรกรรมกับลูกค้ารายนั้นๆ
-ระบบจะคำนวณหาประมาณการวันที่ ที่จะครบกำหนดชำระเงินให้โดยอัตโนมัติเมื่อมีสั่งซื้อสินค้า
-มีระบบจดจำราคาสินค้าของแต่ละผู้ขาย

2. ระบบขาย (Sale System)
- ดำเนินธุรกรรมในระบบขาย เช่น รายงานภาษีขาย, ทำการออกใบกำกับภาษี/สำเนาบิลส่งสินค้า/ใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงิน, ใบลดหนี้, ใบสั่งของชั่วคราว
-ระบบจะตรวจสอบเครดิตของลูกค้าให้อัตโนมัติเมื่อมีการทำธุรกรรมกับลูกค้ารายนั้นๆ
-ระบบจะคำนวณหาประมาณการวันที่ ที่จะครบกำหนดชำระเงินให้โดยอัตโนมัติเมื่อมีสั่งซื้อสินค้า
- มีระบบจดจำราคารวมสินค้าของแต่ละลูกค้า
-กำหนดอัตราภาษีได้เอง
- กำหนดราคาขาย ตาม จำนวนสินค้าที่ขายในบิลนั้นๆได้

3. ระบบลูกหนี้ (Account Receivable System)
สามารถตรวจสอบดูความเคลื่อนไหว และสถานะของเอกสารสำคัญในระบบลูกหนี้ได้เช่น Invoice ขาย ใบลดหนี้ สามารถเก็บข้อมูลรายละเอียดเช็คของลูกค้าแต่ละคนเพื่อใช้ในครั้งต่อไปได้ รับชำระได้ทั้งเงินสด , เช็ค

4. ระบบเจ้าหนี้ (Account Payable System)
สามารถตรวจสอบดูความเคลื่อนไหว และสถานะของเอกสารสำคัญในระบบเจ้าหนี้ได้เช่น Invoice ซื้อ ใบลดหนี้ สามารถเก็บข้อมูลรายละเอียดเช็คของเจ้าหนี้แต่ละคนเพื่อใช้ในครั้งต่อไปได้ รับชำระได้ทั้งเงินสด , เช็ค

5. ระบบสินค้าคงคลัง (Inventory System)
สามารถค้นหาข้อมูลตามรหัสสินค้า หรือชื่อสินค้า และมี Look up ในกรณีที่จำรหัสไม่ได้ กำหนด ราคาขาย ได้ไม่จำกัด หรือใช้ ราคาล่าสุด ก็ได้

การจัดตั้งบริษัท / การจดทะเบียนบริษัท

การจัดตั้งบริษัท - การจดทะเบียนบริษัท
สำหรับ"การจัดตั้งบริษัท"จำกัดนั้น ต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
  1. มีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป เพื่อทำหนังสือบริคณห์สนธิขึ้น แล้วนำไปจดทะเบียน
  2. หลังจากได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องจัดให้หุ้นของบริษัทที่จะตั้งขึ้นนั้น มีผู้เข้าชื่อจองซื้อหุ้นจนครบ
  3. ดำเนินการประชุมจัดตั้งบริษัท โดยต้องส่งคำบอกกล่าวนัดประชุม ให้ผู้จองทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุม
  4. เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัทและที่ประชุมได้แต่งตั้งกรรมการบริษัทแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องมอบหมายกิจการ โดยให้กรรมการบริษัทรับไปดำเนินการต่อไป
  5. กรรมการบริษัทเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้จองหุ้นทำการชำระค่าหุ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น (ทุนของบริษัทจะแบ่งสัดส่วนเป็นกี่หุ้นก็ได้ แต่จะต้องไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท)
  6. เมื่อได้รับเงินค่าหุ้นแล้ว กรรมการต้องไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน 3 เดือน หลังจากการประชุมตั้งบริษัท
การดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม /หรือเลิก /และชำระบัญชีบริษัทจำกัด
ในกรณีที่บริษัทจำกัดนั้นได้ตกลงที่จะแก้ไข-เพิ่มเติมรายการใด ๆ ที่ได้ทำการจดทะเบียนไว้ เป็นอย่างอื่น หรือผู้ถือหุ้นจะเลิกกิจการ ก็จะต้องไปดำเนินการขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมรายการนั้น ๆ หรือจดทะเบียนเลิกและเสร็จการชำระบัญชี ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ห้างนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งไว้อยู่
การจดทะเบียนจัดตั้งและแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องดำเนินการตามวิธีและหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายและระเบียบของทางราชการได้กำหนดไว้ รายการจดทะเบียนที่บริษัทจะต้องจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม
  1. การแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิก่อนการตั้งบริษัท
  2. มติพิเศษของบริษัทให้
    (1) เพิ่มทุน
    (2) ลดทุน
    (3) ควบบริษัท
  3. ควบบริษัท
  4. แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริดณห์สนธิภายหลังตั้งบริษัท
  5. เพิ่มทุน
  6. ลดทุน
  7. กรรมการ
  8. จำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัท
  9. ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และ/หรือสำนักงานสาขา
  10. ตราของบริษัท
  11. รายการอื่นที่เห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ
วิธีการ จดทะเบียน มีขั้นตอนดังนี้
  1. ในกรณี การจดทะเบียนบริษัท หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัท ให้ผู้เริ่มก่อการหรือกรรมการของบริษัท จะต้องขอตรวจและจองชื่อบริษัทเสียก่อนว่า ชื่อที่จะใช้นั้นจะซ้ำ หรือคล้ายกับคนอื่นที่จดทะเบียนไว้ก่อนหรือไม่ เมื่อจองชื่อได้แล้วจะต้องขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิภายใน 30 วัน
  2. ซื้อคำขอและแบบพิมพ์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือสำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจทั้ง 7 แห่ง หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด
  3. จัดทำคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบคำขอ ยื่นต่อนายทะเบียนเพื่อตรวจพิจารณา
  4. ชำระค่าธรรมเนียมตามใบสั่งของเจ้าหน้าที่
  5. ถ้ามีความประสงค์จะได้หนังสือรับรองรายการในทะเบียน ให้ยื่นคำขอและชำระค่าธรรมเนียมต่อเจ้าหน้าที่ด้วย
  6. รับใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน และหนังสือรับรองรายการในทะเบียนได้

ที่มา :  http://www.buncheeaudit.com

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ความแตกต่างระหว่างผู้สอบบัญชีภาษีอากรและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตb


ความแตกต่าง
ผู้สอบบัญชีภาษีอากร
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
1. การขึ้นทะเบียน
     ต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาต เป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรจากอธิบดีกรมสรรพากร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ท.ป.98/2544
     ต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547 
2. สิทธิในการปฏิบัติงาน
     สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีเฉพาะห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก (ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท)
     สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
3. หลักเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน
     ปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์  วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.122/2545 สำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก
     ปฏิบัติงานตามที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนดสำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดใหญ่  
    
     ปฏิบัติงานตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเช่นเดียวกับผู้สอบบัญชีภาษีอากรสำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก 
4. การรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี
     จัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไว้ในคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.122/2545  
สำหรับการตรวจสอบห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก
     จัดทำรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตสำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดใหญ่ 

     จัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเช่นเดียวกับผู้สอบบัญชีภาษีอากรสำหรับการตรวจสอบห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก


ที่มา : http://www.rd.go.th

ผู้สอบบัญชีภาษีอากร

"ผู้สอบบัญชีภาษีอากร"  หมายถึง ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากรที่ขอขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมสรรพากร โดยสามารถ ตรวจสอบและรับรองบัญชีเฉพาะห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่ได้รับ ยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 (ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นดังกล่าว มีทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท)

      ดังนั้น ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจึงเป็นวิชาชีพอิสระ บุคคลที่จะขอขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องมีคุณสมบัติและผ่านการทดสอบตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.98/2544 เรื่องกำหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร


คุณสมบัติของผู้ขอเข้ารับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร
          กรมสรรพากรได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ขอเข้ารับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ดังนี้
1.สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือประกาศนียบัตรทางการบัญชี ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรองเทียบเท่าไม่ต่ำกว่าปริญญาดังกล่าว
[ผู้ยื่นคำขอเข้าทดสอบจะต้องได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย ไม่เกินวันที่ วันสุดท้ายของการรับสมัครในแต่ละครั้ง]
2. มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
3. มีสัญชาติไทย หรือมีสัญชาติของประเทศที่ยินยอมให้บุคคลสัญชาติไทยเป็น ผู้สอบบัญชีในประเทศนั้นได้
4. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
5. ไม่เคยต้องโทษจำคุกในคดีเกี่ยวกับภาษีอากรหรือคดีอื่นที่อธิบดีเห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งความเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร
6. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
7. ไม่เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีที่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักหรือถูกเพิกถอน ใบอนุญาต
8. ต้องผ่านการทดสอบตามที่อธิบดีกำหนด
สิทธิของผู้สอบบัญชีภาษีอากร
        สามารถลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบและรับรองบัญชีงบการเงินของห้างหุ้นส่วน จดทะเบียนที่จัดตั้งขี้นตามกฎหมายไทยที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 (ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นดังกล่าว มีทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท ซึ่งเรียกว่า “ห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลขนาดเล็ก”)

ที่มา : http://www.rd.go.th