by zalim-code.comby zalim-code.comby zalim-code.comby zalim-code.com
คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ
แจ้งผู้เยี่ยมชม บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้ประโยชน์ความรู้ทางการบัญชีและบริหาร

เปลี่ยนภาษา

ฟังเพลงคลายเครียดก่อนนะค่ะ^^
by zalim-code.comby zalim-code.com

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ผู้ใช้ข้อมูลทางการบัญชี



1. เจ้าของกิจการ (The Owner)
     หากกิจการเป็นกิจการเจ้าของคนเดียว เจ้าของก็คือผู้ก่อตั้งกิจการ แต่ถ้าเป็นกิจการห้างหุ้นส่วน เจ้าของกิจการก็คือผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน และถ้าเป็นกิจการบริษัทจำกัด เจ้าของกิจการก็คือผู้ถือหุ้น ซึ่งเจ้าของกิจการเหล่านี้จะนำข้อมูลทางการบัญชีของกิจการไปใช้ในการวาง นโยบายของกิจการ เช่น จะขยายกิจการ หรือจะเลิกกิจการซึ่งการตัดสินใจในเรื่องเหล่านี้จะต้องอาศัยข้อมูลทางการ บัญชีของกิจการว่าที่ผ่านมากิจการมีผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร และ ณ ปัจจุบันกิจการมีฐานะทางการเงินเป็นอย่างไร เป็นต้น


2. ผู้บริหาร (Manager)
     ในกิจการประเภทห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด เจ้าของกิจการอาจจะเป็นคนเดียวกับผู้บริหารหรือไม่ก็ได้ ซึ่งผู้บริหารนี้จะใช้ข้อมูลทางการบัญชีของกิจการไปใช้ในการบริหารกิจการให้ ประสบผลสำเร็จตามนโยบายที่ได้รับจากเจ้าของกิจการ


3. เจ้าหนี้หรือแหล่งเงินกู้ต่าง ๆ (Creditors)
     เจ้าหนี้จะใช้ข้อมูลทางการบัญชีของกิจการไปใช้ในการตัดสินใจที่จะให้เครดิต กับกิจการ โดยจะพิจารณาจากฐานะทางการเงินของกิจการ ความสามารถในการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยของกิจการ เป็นต้น


4. นักลงทุน (Investors)
     นักลงทุนจะใช้ข้อมูลทางการบัญชีของกิจการไปใช้ในการตัดสินใจในการที่จะเข้า มาลงทุนในกิจการ โดยผู้ลงทุนจะพิจารณาจาก ผลการดำเนินงานของกิจการ ฐานะทางการเงินของกิจการ ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ นโยบายการจ่ายเงินปันผลของกิจการ เป็นต้น


5. ลูกค้าและซัพพลายเออร์ (Customers and Suppliers)
     ลูกค้าและซัพพลายเออร์จะใช้ข้อมูลทางการบัญชีของกิจการไปใช้ในการตัดสินใจ ที่จะค้าขายกับกิจการ โดยจะพิจารณาจากผลการดำเนินงานของกิจการ ฐานะทางการเงินของกิจการ สภาพคล่องของกิจการ เป็นต้น


6. พนักงานหรือลูกจ้าง (Employees)
     พนักงานหรือลูกจ้างจะใช้ข้อมูลทางการบัญชีของกิจการไปใช้ในการตัดสินใจในการ ทำงานกับกิจการ โดยจะพิจารณาจากความมั่นคงคือฐานะทางการเงินของกิจการ ผลการดำเนินงานของกิจการ เพื่อประเมินความสามารถในการจ่ายค่าจ้างค่าตอบแทน และโอกาสในการจ้างงาน


7. คู่แข่ง (Competitors)
     คู่แข่งจะใช้ข้อมูลทางการบัญชีของกิจการไปใช้ในการตัดสินใจบริหารงานของคู่ แข่ง เพื่อจะให้สามารถแข่งขันกับกิจการได้


8. รัฐบาลและหน่วยงานราชการ (Government Agencies)
     หมายถึงหน่วยงานราชการที่ต้องการข้อมูลทางการบัญชีของกิจการไปใช้ในงานต่าง ๆ ของทางราชการ เช่น กรมสรรพากรต้องการนำข้อมูลทางการบัญชีของกิจการไปใช้คำนวณการจัดเก็บภาษี หรือ นำไปเป็นฐานในการคำนวณรายได้ประชาชาติ หรือจัดทำสถิติต่าง ๆ


9. บุคคลทั่วไป
     เช่น นิสิต นักศึกษา อาจารย์ ที่ต้องการนำข้อมูลทางการบัญชีของกิจการไปใช้ในการเรียนการสอน สื่อมวลชนต้องการนำไปเสนอข่าว เป็นต้น
     
จะเห็นได้ว่าผู้ที่ใช้ข้อมูลทางการบัญชีของกิจการมีด้วยกันมากมายหลาย ฝ่าย ซึ่งแต่ละฝ่ายก็ต้องการข้อมูลที่แตกต่างกันไป โดยเราจะแบ่งผู้ใช้ข้อมูลทางการบัญชีได้เป็น 2 ฝ่ายใหญ่ ๆ คือ ฝ่ายผู้ใช้ภายในกิจการ (Internal Users) อันได้แก่ เจ้าของและผู้บริหารกิจการ กับฝ่ายผู้ใช้ภายนอกกิจการ (External Users) อันได้แก่ เจ้าหนี้ ผู้ลงทุน หน่วยงานรัฐบาล และอื่น ๆ ดังนั้นข้อมูลทางการบัญชีเราจึงสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนเช่นเดียวกัน คือข้อมูลทางการบัญชีที่นำเสนอแก่ผู้ใช้ภายในกิจการเราเรียกว่า การบัญชีบริหารหรือการบัญชีเพื่อการจัดการ (Managerial Accounting) กับข้อมูลทางการบัญชีที่นำเสนอแก่ผู้ใช้ภายนอกกิจการเราเรียกว่า การบัญชีการเงิน (Financial Accounting)




ที่มา : http://www.kac.co.th/users-of-accounting-information.html

คำจำกัดความของคำว่า “การบัญชี”



จากคำจำกัดความของคำว่า การบัญชี สามารถอธิบายความหมายได้ดังนี้


1. ขั้นตอนของการเลือกและการเก็บรวบรวม
คือการพิจารณาว่ารายการที่เกิดขึ้นเป็นรายการค้าหรือไม่ (เป็นเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่กิจการต้องนำมาบันทึกหรือไม่) ต้องเก็บรวบรวมเอกสารหลักฐานเพื่อไว้ใช้ในการบันทึกบัญชี


2. การจดบันทึกและการวัดมูลค่า
เป็นการนำข้อมูลเอกสารจากขั้นตอนแรกมาบันทึกรายการทางบัญชีหรือรายการค้าและเหตุการณ์ ซึ่งจะต้องเป็นรายการหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมาบันทึกลงในสมุดบัญชี เรียกว่า สมุดรายวัน (Journal) การบันทึกจะมีการวัดมูลค่าเข้ามาเกี่ยวข้อง การวัดมูลค่า หมายถึง การแสดงมูลค่าของรายการนั้นๆ จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าเป็นรายการประเภทไหน เช่น วัดด้วยราคาทุน (ราคา ณ วันที่ได้มา) หรือวัดด้วยราคายุติธรรม (ราคาที่ผู้ซื้อและผู้ขายมีความเต็มใจในการซื้อขายกัน ไม่มีใครมีอำนาจเหนือใคร)


3. การใช้หน่วยเงินตรา
การบันทึกรายการทางบัญชีต้องใช้หน่วยเงินตรา เช่น บาท ดอลลาร์ เป็นต้น และถือว่าจำนวนที่บันทึกลงไปแต่ละหน่วยจะมีค่าคงที่ แม้ค่าของเงินจะเปลี่ยนแปลง


4.การจัดหมวดหมู่
เพื่อหายอดคงเหลือของทุกรายการโดยการแยกประเภทบัญชีเป็นสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ และค่าใช้จ่าย ในการจัดหมวดหมู่จะใช้สมุดบัญชีที่เรียกว่า สมุดแยกประเภท (Ledger)


5.การสรุปผลและการรายงานข้อมูลทางการเงิน
เมื่อมีการบันทึกบัญชีไประยะหนึ่ง จะต้องนำรายการที่จัดหมวดหมู่มาสรุปผลดำเนินการและฐานะของกิจการโดยจัดทำ งบการเงิน (Financial Statement) ซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วนคือ
1)  งบกำไรขาดทุน
2)  งบดุล
3)  งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น
4)  งบกระแสเงินสด
5) นโยบายบัญชี และหมายเหตุประกอบงบการเงิน นโยบายบัญชี เป็นหลักการทางบัญชีที่กิจการใช้ในการจัดทำ และนำเสนองบการเงิน สำหรับหมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญทำให้ผู้ใช้งบการเงินได้ทราบหลักปฏิบัติทางบัญชีที่กิจการเลือกใช้ในการจัดทำและนำเสนองบการเงิน



ที่มา : http://www.chumphon2.mju.ac.th

ประโยชน์ของการทำบัญชี

1. เพื่อเป็นเครื่องมือวัดความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจการทำบัญชี
       
          จะทำให้กิจการ ทราบผลการดำเนินงาน ฐานะทางการเงินของธุรกิจ และ ความมั่นคงของธุรกิจ โดยในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีนั้น จะบันทึกบัญชีรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจ เช่น การลงทุน รายรับ และ รายจ่าย ที่เป็นของกิจการนั้น โดยไม่นำส่วนที่เป็นของส่วนตัว(ส่วนของเจ้าของ) เข้ามาบันทึกด้วย เมื่อมีการบันทึกรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว ข้อมูลที่ได้บันทึกไว้นั้น จะสามารถนำมาจัดทำเป็นรายงานทางการเงินได้ เช่น งบดุล และ งบกำไรขาดทุน ซึ่งเป็นภาพสะท้อนในการดำเนินธุรกิจ ดังนี้ คือ


งบกำไรขาดทุน

จะสะท้อนภาพผลการดำเนินงานในรอบระยะเวลาหนึ่งๆ ว่า กิจการมีรายได้หรือค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเท่าไร มีผลกำไรหรือขาดทุน นอกจากนี้ยังช่วยในการประเมินถึงความสามารถในอนาคตได้อีกด้วย เช่น การวิเคราะห์แนวโน้มการเติบโตของรายได้จากสำนักงานบัญชี


งบดุล

จะสะท้อนภาพฐานะทางการเงินของกิจการ ได้แก่ ทรัพย์สิน หนี้สิน และ ส่วนของเจ้าของ ว่ามีความมั่นคงมากน้อยแค่ไหน สินทรัพย์ที่มีอยู่จะบ่งบอกศักยภาพในการเจริญเติบโตและความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจในอนาคต นอกจากนี้ยังแสดงถึงสภาพคล่องและความเสี่ยงในขณะนั้น

งบกระแสเงินสด

จะสะท้อนภาพการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการในรอบระยะเวลาหนึ่งๆ โดยแบ่งเป็น 3 กิจกรรมคือ      กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
           กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน
           กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน

        โดยตัวเลขที่ปรากฏในงบการเงิน จะสามารถนำมาวิเคราะห์เป็นอัตราส่วนทางการเงิน เพื่อวัดผลสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ เช่น การวัดสภาพคล่องของธุรกิจ การวัดประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ การวัดความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ และ ความสามารถในการชำระหนี้ เป็นต้น

การวัด
    วัดจาก 
- วิธีการคำนวณ 
-ความหมายแสดงถึง 
-สภาพคล่อง 
-อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน(เท่า) 
-สินทรัพย์หมุนเวียนหนี้สินหมุนเวียน 
-กิจการมีสินทรัพย์หมุนเวียนมากพอที่จะชำระหนี้ได้เพียงใด
-ประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ 
-อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้(เท่า) 
-ยอดขายเชื่อสุทธิ 
-ลูกหนี้เฉลี่ย
-ควมสามารถในการบริหาร
-ลูกหนี้ ว่าสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เพียงใด
-อัตราหมุนเวียนของสินค้า(เท่า) 
-ต้นทุนขายสินค้าสินค้าคงเหลือเฉลี่ย
-ความสามารถในการบริหาร
-งานขาย ว่าสินค้าขายได้เร็วเพียงใด
-ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ 
-อัตราผลตอบแทนจากสินทรพัย์ทั้งหมด (%)
-กำไรสุทธิ *100สินทรัพย์ทั้งหมด
-ระดับผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม
-อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (%)
-กำไรสุทธิ *100ส่วนของผู้ถือหุ้นทั้งหมด
-ระดับผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของ(ผู้ถือหุ้น)
-ความสามารถในการชำระหนี้
-ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (เท่า)
-กำไรก่อนหักภาษีและดอกเบี้ยจ่าย
-ดอกเบี้ยจ่าย
-ความสามารถในการชำระดอกเบี้ยเงินกู้

2. เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการวางแผนและตัดสินใจธุรกิจ
        ข้อมูลบัญชีจากสำนักงานบัญชีจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนและการตัดสินใจ โดยประเมินจากข้อมูลเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และ อนาคต ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของรายงานวิเคราะห์ต่างๆ ที่สำนักงานบัญชีได้จัดทำ อันเป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้บริหารงานสามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยในการพยากรณ์เหตุการณ์ที่คาดว่าจะเกิดในอนาคตได้อย่างมีทิศทาง และ ความเชื่อมั่นสูง สามารถนำมาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลงทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้น หากสำนักงานบัญชีมีข้อมูลที่ชัดเจน ถูกต้อง ทำให้สามารถพัฒนากิจการให้เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

3. เพื่อเป็นเครื่องมือในการวางแผนกำไร และ ควบคุมค่าใช้จ่ายของบริษัท
        เนื่องจากในการทำบัญชีของสำนักงานบัญชีอย่างถูกต้อง จะทำให้กิจการทราบจำนวนต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และสามารถคำนวณต้นทุนของสินค้าและบริการของกิจการได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจกำหนดราคาสินค้า หรือ บริการของธุรกิจ ช่วยในการควบคุมต้นทุนการผลิตและค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้เป็นไปตามประมาณการที่ได้กำหนดไว้ และสามารถนำไปวิเคราะห์ ปรับปรุงรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออก รวมถึงช่วยในการวางแผนการดำเนินงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับทรัพยากรที่กิจการมีอยู่ นอกจากนี้การบันทึกบัญชีของสำนักงานบัญชีจะทำให้สามารถตรวจสอบหาหลักฐานในการเบิกจ่ายแต่ละครั้ง จึงช่วยลดปัญหาในการเบิกจ่ายซ้ำซ้อนได้

4. เพื่อเป็นเครื่องมือในการหาแหล่งเงินทุน
          ในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีจะทำให้เราได้รายงานทางเงินที่ใช้เป็นสื่อกลางในการติดต่อทางธุรกิจต่าง ๆ อันเป็นหลักฐานในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับเจ้าหนี้และสถาบันการเงิน เช่น เมื่อเราต้องการเงินทุนเพิ่มก็สามารถนำรายงานทางการเงินนั้นไปเป็นข้อมูลประกอบในการขอสินเชื่อกับธนาคาร หรือ เจ้าหนี้เงินกู้ โดยธนาคาร หรือ เจ้าหนี้เงินกู้ จะใช้รายงานทางการเงินของกิจการ เพื่อพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ จากความน่าเชื่อถือ และ ความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอกู้ยืม รวมถึงกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ผู้ให้กู้จะได้รับ อันก่อให้เกิดประโยชน์ในการที่จะทำให้กิจการจะได้รับวงเงินกู้ที่ต้องการ และ จ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่เหมาะสม

5. เพื่อให้กิจการมีระบบการควบคุมภายในที่ดี และ เป็นสัญญาณเตือนภัยของกิจการ

     การมีระบบบัญชีที่ดีของสำนักงานบัญชี จะทำให้มีระบบการควบคุมภายในที่ดีที่ช่วยให้กิจการป้องกันการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากข้อมูลทางการเงิน ตลอดจนรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้น สำนักงานบัญชีจะต้องมีหลักฐานที่สามารถยืนยันถึงที่มาที่ไปซึ่งจะทำให้โอกาสที่จะเกิดการทุจริตสามารถทำได้ยากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ข้อมูลทางบัญชีก็ยังสามารถนำมาวิเคราะห์หาสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น หาจุดบกพร่อง จุดอ่อน และจุดรั่วไหลได้ ซึ่งจะเป็นสัญญาณเตือนภัยให้กิจการ ได้วางแผน เตรียมการป้องกัน และ แก้ไขปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น

6. เพื่อประโยชน์ในการวางแผน เพื่อเสียภาษีได้อย่างถูกต้องและประหยัด
       การจัดทำบัญชีที่ถูกต้องของสำนักงานบัญชี จะทำให้ทราบกำไรขาดทุนที่แน่ชัด สามารถวางแผนภาษีอากรได้อย่างเหมาะสม ประหยัด และ เสียภาษีได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย



ที่มา : http://www.suretax-accounting.com

การบัญชี คือ?

           การบัญชี ช่วยแสดงถึงฐานะทางการเงินขององค์กร กิจการ ฯลฯ เช่น ข้อมูลผลการดำเนินงาน ที่ทราบถึงข้อมูลรายได้และค่าใช้จ่าย ข้อมูลฐานะทางการเงิน ก็แสดงให้ทราบถึงสินทรัพย์ หนี้สิน และทุน จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ประกอบการ ผู้ลงทุน เจ้าหนี้ ตลอดจนรัฐบาลที่ใช้ข้อมูลบัญชีประกอบการตัดสินใจ รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลบัญชีโดยนักบัญชี ก่อให้เกิดประสิทธิภาพการจัดสรร และวางแผนทางการเงินได้เป็นอย่างดี




การบัญชี
    หมายถึง ศิลปของการเก็บรวบรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชี คือ การให้ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่ายและผู้ที่สนใจในกิจกรรมของกิจการ


ประเภทของการบัญชี
จากกระบวนการทางการบัญชีอาจแบ่งการบัญชี ออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. การบัญชีการเงิน (Financial Accounting)
      หมายถึง การจัดทำบัญชี และรายงานทางการเงินของกิจการที่จัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป หรือมาตรฐานการบัญชีสำหรับนำเสนอต่อผู้ใช้งบการเงินที่เป็นบุคคลภายนอกกิจการ เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ ลูกหนี้ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ

2. การบัญชีบริหาร (Managerial Accounting)
        หมายถึง การจัดทำข้อมูลทางการบัญชี และรายงานทางการเงินในส่วนต่าง ๆ ของกิจการสำหรับนำเสนอต่อฝ่ายบริหารของกิจการ เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผน ควบคุม และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อกิจการ การจัดทำข้อมูลทางการบัญชีบริหารนั้น จัดทำตามความต้องการของฝ่ายบริหาร ไม่มีกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับ หรือรูปแบบที่แน่นอน




ที่มา : http://www.csp-th.com

          http://www.suretax-accounting.com

ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อก

บล็อกนี้เป็นบล็อกส่วนตัว ที่ใช้ประกอบการเรียนในรายวิชา อินเตอร์เน็ตและการสื่่อสารในชีวิตประจำวัน