by zalim-code.comby zalim-code.comby zalim-code.comby zalim-code.com
คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ
แจ้งผู้เยี่ยมชม บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้ประโยชน์ความรู้ทางการบัญชีและบริหาร

เปลี่ยนภาษา

ฟังเพลงคลายเครียดก่อนนะค่ะ^^
by zalim-code.comby zalim-code.com

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การบัญชีพื้นฐาน

ความหมายของการบัญชี

ความหมายของการบัญชี

การบัญชี (Accounting )   เป็นการรวบรวมข้อมูล จดบันทึก วิเคราะห์ แยกประเภทและสรุปผลออกมาในรูปของรายงานผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกิจการค้า โดยใช้หน่วยวัดของการบันทึกเป็นเงินตรา ซึ่งมีผู้ให้ความหมายไว้ต่าง ๆ กัน ดังนี้


เฉลา บุญวงศ์ และคณะ ( ม.ป.ป. : 2 ) กล่าวว่า   
การบัญชี (Accounting) หมายถึง การบันทึกรายการค้าไว้เป็นหมวดหมู่ เป็นประเภทตลอดถึงการสรุปผลการดำเนินงาน และการแสดงฐานะการเงินของกิจการค้าแต่ละรูปแบบ

สถาบันผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาตของอเมริกา AICPA กล่าวใน ระวัง เนตรโพธิ์แก้ว ( 2537 : 41 ) กล่าวว่า
“ การบัญชี เป็นศิลปะของการบันทึก จัดชนิด และประเภท ตลอดจนสรุปรายงานที่สำคัญทางการเงิน และเหตุการณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงินแล้วแสดงผลให้ได้ทราบ ” 

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน ( 2525 : 463 ) กล่าวว่า

การบัญชี หมายถึง สมุด หรือกระดาษสำหรับจดรายการต่าง ๆ ไว้เป็นหลักฐาน เช่น บัญชีเงินสด

ธนชัย ยมจินดา ( 2532 : 5 ) กล่าวว่า

“ การบัญชี ” เป็นวิชาการเกี่ยวกับการทำข้อมูล ซึ่งเป็นที่ต้องการขององค์การในการทำหน้าที่ด้านการปฏิบัติการ และการประเมินผลการปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“ การบัญชี ” เป็นศิลปะของการนำรายการต่าง ๆ และเหตุการณ์ทางการเงิน มาจดบันทึก จัดหมวดหมู่ สรุปผล และวิเคราะห์ตีความอย่างมีหลักเกณฑ์

มาลี ไชยกุล ( 2540 : 2 ) กล่าวว่า

“ การบัญชี เป็นการบันทึกข้อมูลทางการเงิน ซึ่งจัดหมวดหมู่ แยกประเภท สามารถนำมาแสดงผล ช่วยในการปฏิบัติงานได้ ”

กรมวิชาการ ( 2522 : 1 ) กล่าวว่า

“ การบัญชี คือ การจดบันทึกเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน โดยผ่านการวิเคราะห์ แยกประเภท และบันทึกรายการนั้น ๆ ไว้ในแบบฟอร์มที่กำหนด เพื่อแสดงฐานะการเงิน และผลการดำเนินงาน ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ”


ดังนั้น การบัญชี หมายถึง วิชาการที่ใช้ศิลปะในการบันทึกรายการค้าของธุรกิจลงในสมุดตามลำดับเหตุการณ์ โดยการวิเคราะห์ จัดประเภท หมวดหมู่ สรุปผลการดำเนินงาน และแสดงฐานะการเงินของกิจการค้าในรอบระยะเวลาหนึ่ง

จรรยาบรรณของนักบัญชี

จรรยาบรรณของนักบัญชี



          สำหรับการตกแต่งข้อมูลทางบัญชี มักเป็นการตกแต่งตัวเลขเพื่อปิดบังสุขภาพที่แท้จริงของกิจการว่าแย่แล้ว ต้องการการซ่อมแซม แต่เจ้าของกิจการอาจไม่ต้องการเก็บกิจการเน่า ๆ เอาไว้แล้ว หากต้องการขายทิ้งไปมากกว่า ครั้นจะขายของเน่า ๆ ก็คงไม่มีใครซื้อ จึงต้องหาเฟอร์นิเจอร์มาปกปิดส่วนที่เน่า เช่น การนำรายได้ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงมาบันทึกเป็นรายได้ทำให้รายได้สูงกว่าความจริง จึงเกิดกำไรลวงตา ตัวอย่าง บริษัทลอยแน่ จำกัด ส่งสินค้าไปฝากให้บริษัท จำใจขาย จำกัด โดยเมื่อมีการส่งสินค้าไปฝากขายเมื่อใด บริษัทลอยแน่ จำกัด ก็จะบันทึกรายได้ทันที อย่างนี้กำไรในงวดที่บันทึกรายได้ จึงเป็นกำไรจอมปลอม มีแต่เพียงตัวเลขในบัญชีเท่านั้น ส่วนทางด้านค่าใช้จ่าย ก็สามารถตกแต่งตัวเลขได้ไม่ยากนัก เช่น การบันทึกค่าโฆษณาเป็นค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชี (หมายความว่ายังไม่แสดงเป็นค่าใช้จ่าย แต่กลับแสดงเป็นสินทรัพย์ คือเป็นผลประโยชน์ที่คาดว่าจะยังได้ประโยชน์ในอนาคต) โดยตัดจำหน่ายเป็นค่าใช้จ่ายบางส่วนตามสัดส่วนของงานที่ทำเสร็จของแต่ละโครงการ แทนที่จะตัดเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน กรณีนี้ก็ทำให้ค่าใช้จ่ายที่แสดงในงวดนี้ต่ำกว่าความจริง ส่งผลให้กำไรสูงกว่าความจริงได้ หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง คือการคำนวณค่าเสื่อมราคาด้วยระยะเวลาที่ยาวเกินไป โดยเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณอัตราค่าเสื่อมราคาลดลงจากอัตราที่เคยใช้อยู่ โดยให้เหตุผลว่ากิจการได้หยุดดำเนินการเป็นการชั่วคราว ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในอายุการใช้งานในเครื่องจักรจริง วิธีนี้ก็ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายจากค่าเสื่อมราคาลดลง ส่งผลให้กำไรสูงขึ้นได้เช่นกัน

           จะเห็นได้ว่า งบการเงินที่มีผู้ต้องการใช้ข้อมูลหลายฝ่าย อาจไม่สามารถให้ความมั่นใจต่อผู้ใช้งบการเงินได้ หากจัดทำขึ้นภายใต้ความคดโกงของใครบางคน ทั้งนี้ใครบางคนจะไม่สามารถตกแต่งข้อมูลใด ๆ ได้ หากไม่ได้รับความร่วมมือจากบุคคลผู้นี้ ซึ่งก็คือนักบัญชีนั่นเอง นักบัญชีถือว่าเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงต่อคุณภาพของงบการเงิน ดังนั้น คุณธรรมของนักบัญชีนับเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพของงบการเงิน นอกเหนือจากคุณธรรมของผู้บริหาร วันนี้จึงอยากพูดถึงคำว่า จริยธรรม หรือจรรยาบรรณของนักบัญชี จริยธรรม (ethics) เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินงานของทุกองค์กรเป็นไปอย่างถูกต้องไม่เอารัดเอาเปรียบกัน ซึ่งจะเกิดประโยชน์ทั้งต่อกิจการและส่วนรวม โดยที่นักบัญชีมีหน้าที่ในการจัดทำข้อมูลให้แก่ผู้บริหาร ซึ่งผลการตัดสินใจส่วนหนึ่งย่อมมีผลมาจากข้อมูลที่ผู้บริหารได้รับ ดังนั้นนักบัญชีควรมีจริยธรรมในการเลือกวิธีการจัดทำรายงานตามหลักการที่เหมาะสมถูกต้องเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่มีคุณภาพไม่ลำเอียง (bias) โดยยึดมั่นในเหตุผลตามหลักวิชา

           นอกจากนี้นักบัญชีต้องเป็นผู้ยึดมั่นต่อความรับผิดชอบสังคมและส่วนรวมด้วย เพราะหากสังคมเสียหาย กิจการก็อาจไม่สามารถดำรงอยู่ในระยะยาวได้ ทั้งนี้นักบัญชีต้องช่วยชี้ให้เห็นถึงข้อมูลที่แสดงถึงผลกระทบทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินที่จะเกิดขึ้นกับกิจการ เช่น หากธุรกิจผลิตสินค้า โดยไม่มีระบบการกำจัดของเสียที่ดี ทำให้เกิดมลภาวะเป็นพิษทางน้ำ อาจส่งผลต่ออาชีพของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในบริเวณรอบ ๆ ทำให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวม ผลที่ตามมาคือความรู้สึกไม่พอใจของประชาชนในบริเวณนั้น อาจทำให้กิจการสูญเสียลูกค้าและส่งผลกระทบถึงผลกำไรจำนวน 20 ล้านบาท โดยที่หากกิจการลงทุนเพิ่มในระบบการจัดการของเสียที่ดี ทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้นเพียง 2 ล้านบาท กิจการก็ควรตัดสินใจลงทุน เพราะประโยชน์ที่ได้รับทั้งในแง่จำนวนเงินซึ่งมากกว่าต้นทุนที่จ่ายไป นอกจากนี้ยังส่งผลต่อภาพลักษณ์ของกิจการที่ดีซึ่งจะช่วยให้กิจการสามารถเติบโตอย่างมั่นคงยั่งยืนได้ ปัจจุบันนี้ประชาชนทั่วโลกต่างตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้น โดยได้มีการประชุมในระดับโลก World Summit on Sustainable Development in 2002 ที่เสนอแนะให้ธุรกิจตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน (corporate environmental and social responsibility) ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและรักษาสิ่งแวดล้อมและสังคมในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม พร้อมยึดถือเป็นนโยบายสำคัญขององค์กร ที่ต้องปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ดังนั้นเป้าหมายหลักในการบริหารธุรกิจจึงเปลี่ยนจากการสร้างกำไรเพียงอย่างเดียว มาเป็นการบริหารธุรกิจเพื่อความยั่งยืน (business sustainability) โดยเลือกแนวทางการดำเนินงานที่ช่วยรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น เช่น การเลือกเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงสุดในกระบวนการผลิตเพื่อจัดการและป้องกันคุณภาพสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต รวมทั้งการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั้งหมด ทั้งคุณภาพอากาศ คุณภาพน้ำ คุณภาพดิน ระดับเสียง สิ่งมีชีวิตในน้ำ ทรัพยากรป่า การกำจัดของเสียในบริเวณโรงงานและพื้นที่โดยรอบ ย่อมเป็นสิ่งยืนยันได้ถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ตลอดจนการลดต้นทุนการผลิตโดยใช้วัตถุดิบที่ผ่านกระบวนการใช้แล้ว (recycle or reused) เพื่อมุ่งเน้นถึงการลดปริมาณการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและช่วยให้ผลิตสินค้าที่มีต้นทุนต่ำ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรมีการพัฒนาที่ยั่งยืนสามารถดำรงอยู่ได้อย่างแท้จริงในระยะยาวเพราะได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคทั่วไป นอกจากการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและสังคมแล้ว นักบัญชียังต้องชี้นำให้ผู้บริหารในองค์กรต่าง ๆ ต้องคำนึงถึงมาตรฐานด้านแรงงานอีกด้วย เพราะมาตรฐานด้านแรงงานเป็นการวัดความมีจริยธรรม ความรับผิดชอบและความมีมนุษยธรรมของผู้บริหาร โดยต้องไม่เอาเปรียบ กดขี่แรงงาน สร้างสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ดี โดยเฉพาะธุรกิจที่ประกอบกิจการส่งออกยิ่งต้องตระหนักถึงความสำคัญในการปรับปรุงมาตรฐานแรงงานเพื่อเตรียมธุรกิจให้พร้อมเพื่อการแข่งขันบนเวทีการค้าโลก

             ท้ายที่สุดขอฝากถึงบทบาทของนักบัญชีในวันนี้ว่า จะมิใช่เพียงผู้ทำบัญชีอีกต่อไป แต่ยังต้องเป็นผู้แปลความ อธิบาย และเสนอแนะ โดยทำหน้าที่เป็นมือขวาของผู้บริหาร แต่ต้องเป็นมือขวาที่มีจรรยาบรรณ จึงจะสร้างความสำเร็จได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน โดยยึดมั่นในหลักการ ดังนี้
ประกอบวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตามหลักปฏิบัติและวิชาการ และอยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมาย ไม่แสดงรายการอันทำให้เกิดความสำคัญผิดในสาระสำคัญของรายงาน จนทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผิด ไม่ทำการใด ๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อสังคม และไม่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียในจริยธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม หากทำได้ดังนี้ ก็จะได้ชื่อว่าเป็นนักบัญชีที่มีจรรยาบรรณ โดยไม่ต้องมีใครมาบอกกับท่านว่า “ you never really know what your ethics are until they are put to the test.” เพราะเดี๋ยวนี้ กฎหมายบัญชีเขาเล่นกันถึงคุกเชียวนา พวกเรานักบัญชีคงไม่ชอบผัดซีอิ๊วกับโอเลี้ยงเท่าไรนัก

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบัญชี


ความหมายของ "การบัญชี" และ "การทำบัญชี" การบัญชี (Accounting) หมายถึง งานศิลปะของการนำรายงานและเหตุการณ์ทางการเงินมาจดบันทึก จัดหมวดหมู่ สรุปผลและวิเคราะห์ ตีความอย่างมีหลักเกณฑ์

คำว่า การบัญชี (Book-keeping) ได้มีผู้ให้คำจำกัดความไว้มากมาย เช่น "การบัญชี คือ การจดบันทึกรายการค้าต่างๆ ที่เกี่ยวกับการรับ-จ่ายเงิน และสิ่งที่มีค่าเป็นเงิน ไว้ในสมุดบัญชีอย่างสม่ำเสมอ เป็นระเบียบถูกต้องตามหลักการ และสามารถแสดงผลการดำเนินงาน และฐานะการเงินของกิจการในระยะเวลาหนึ่งได้"

การทำบัญชี (Bookkeeping) หมายถึง งานประจำที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกและรวบรวมข้อมูลประจำวันเพื่อให้สามารถจัดทำงบการเงินได้การทำบัญชีเป็นงานย่อยส่วนหนึ่งของการบัญชี บุคคลผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบัญชี เรียกว่า นักบัญชี (Accountant) ส่วนผู้ที่มีหน้าที่บันทึกและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเงินประจำวัน เรียกว่า ผู้ทำบัญชี (Bookkeeper)

ประโยชน์และวัตถุประสงค์ของการบัญชี
1. ช่วยให้เจ้าของกิจการสามารถควบคุมรักษาสินทรัพย์ของกิจการได้
2. ช่วยให้ทราบผลการดำเนินงานของกิจการ ในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่งว่า ผลการดำเนินงาน ที่ผ่านมา กิจการมีกำไรหรือขาดทุนเป็นจำนวนเท่าใด
3. ช่วยให้ทราบฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งว่า กิจการในสินทรัพย์ หนี้สิน และ ทุน ซึ่งเป็นส่วนของเจ้าของกิจการเป็นจำนวนเท่าใด
4. การทำบัญชีเป็นการรวบรวมสถิติอย่างหนึ่งที่ช่วยในการบริหารงาน และให้ข้อมูลอันเป็น ประโยชน์ในการวางแผนการดำเนินงาน และควบคุมกิจการให้ประสบผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย
5. เพื่อบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นตามลำดับก่อนหลัง และจำแนกตามประเภทของรายการค้าไว้
6. เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการทำบัญชีของกิจการต่างๆ