by zalim-code.comby zalim-code.comby zalim-code.comby zalim-code.com
คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ
แจ้งผู้เยี่ยมชม บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้ประโยชน์ความรู้ทางการบัญชีและบริหาร

เปลี่ยนภาษา

ฟังเพลงคลายเครียดก่อนนะค่ะ^^
by zalim-code.comby zalim-code.com

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

จรรยาบรรณผู้บริหารและพนักงาน



         บริษัทฯ กำหนดจรรยาบรรณผู้บริหารและพนักงาน เพื่อใช้เป็นหลักปฏิบัติสำหรับผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯ ดังนี้

1) ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและมีสำนึกรับผิดชอบในภารกิจที่ได้รับมอบหมาย รวมถึงผลกระทบที่อาจมีต่อผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งในด้านสุขภาพอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

2) ดูแลรักษาผลประโยชน์ของบริษัทฯ และใช้ทรัพย์สินของบริษัทฯ อย่างคุ้มค่าและประหยัด โดยไม่นำทรัพย์สินของบริษัทฯ ไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัว

3) หมั่นตรวจสอบและปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดอย่างต่อเนื่อง

4) ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามจรรยาบรรณและค่านิยมของบริษัทฯ และไม่กระทำการใดๆ ที่ขัดต่อศีลธรรม กฎหมาย ระเบียบ ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการทำงานของบริษัทฯ รวมทั้งมีจิตสำนึกในการต่อต้านการทุจริต

5) เสริมสร้างสัมพันธภาพในการทำงานที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน ลูกค้า คู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ บนพื้นฐานของการให้เกียรติและความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

6) ใฝ่หาความรู้และนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในงานอย่างต่อเนื่อง และแบ่งปันความรู้กับเพื่อนร่วมงานเพื่อให้เกิดการพัฒนาความรู้ ทักษะและความสามารถของพนักงาน และสร้างฐานความรู้ที่เป็นปัจจัยในความสำเร็จให้แก่บริษัทฯ

7) รักษาข้อมูลความลับของบริษัทฯ ลูกค้า คู่ค้า และพันธมิตรทางธุรกิจ โดยไม่นำไปเปิดเผยต่อบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต

8) การเข้ารับตำแหน่งในสถาบันวิชาชีพ หรืองานบริการสาธารณะจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อน

9) ไม่เปิดเผยข่าวสารหรือให้ข้อมูลต่อบุคคลอื่น หรือกระทำการใดๆ ที่อาจนำความเสื่อมเสียแก่ภาพลักษณ์ของบริษัทฯ และทำให้บริษัทฯ เสียผลประโยชน์

10) ไม่ปกปิดความผิด หรือการกระทำใดๆ ที่อาจส่อไปในทางที่ผิดหรืออาจเป็นต้นเหตุให้เกิดการกระทำผิด และให้รายงานผู้บังคับบัญชาทราบในทันที เพื่อหาแนวทางแก้ไขและป้องกัน ก่อนที่จะมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น

11) ไม่แสวงหาประโยชน์ในทางที่มิชอบจากตำแหน่งหน้าที่หรือชื่อเสียงของบริษัทฯ

12) ไม่รับของขวัญหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ผิดไปจากธรรมเนียมปฏิบัติหรือเกินความเหมาะสมจากบุคคลที่บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจด้วย นอกเหนือจากผลตอบแทนอันพึงได้จากบริษัทฯ

13) ไม่ประกอบธุรกิจหรือให้เครือญาติประกอบธุรกิจที่แข่งขันกับบริษัทฯ
14) ไม่นำชื่อหรือสัญลักษณ์บริษัทฯ ไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อแสวงประโยชน์หรือเพื่อเรียกร้องความสนใจหรือบริการอื่นๆ อันอาจจะทำให้เป็นผลเสียหายต่อภาพลักษณ์ของบริษัทฯ
15) ไม่ก่อภาระผูกพันทางการเงินกับบุคคลที่ทำธุรกิจกับบริษัทฯ

16) เคารพในหลักการของสิทธิมนุษยชนที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป


ที่มา : http://www.pttar.com/

การร่วมค้า


       การร่วมค้า หมายถึง การประกอบกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจของบุคคลหรือกิจการอย่างน้อยสองราย โดยมีการควบคุมร่วมกันตามที่ตกลงไว้ในสัญญา

ลักษณะของกิจการร่วมค้า
1. โครงสร้าง การร่วมค้าประกอบด้วยบุคคลหรือกิจการตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปลงทุนร่วมกัน เพื่อประกอบกิจการค้า
2. วัตถุประสงค์ การร่วมค้ามีวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจงเพื่อแสวงหากำไรร่วมกัน
3. ระยะเวลาการดำเนินงาน การร่วมค้าเป็นกิจการที่ทำขึ้นในระยะเวลาสั้น เมื่อบรรลุวัตถุประสงค์แล้วก็จะเลิกกิจการ

ประโยชน์ของกิจการร่วมค้า
1. เพื่อผสมผสานทรัพยากร เทคโนโลยี ความรู้ความชำนาญของแต่ละฝ่ายเข้าด้วยกัน ในกรณีการจัดทำโครงการที่ต้องใช้ความรู้และความชำนาญสูง
2. กิจการมีโอกาสได้ลงทุนในโครงการที่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ซึ่งกิจการไม่สามารถลงทุนได้เพียงผู้เดียว
3. เพื่อกระจายความเสี่ยงจากการลงทุน

รูปแบบของการร่วมค้า
1. การควบคุมร่วมในการดำเนินงาน (Jointly Controlled Operations)
2. การควบคุมร่วมในสินทรัพย์ (Jointly Controlled Assets)
3. การควบคุมร่วมในกิจการ (Jointly Controlled Entities)
การควบคุมร่วมในการดำเนินงาน (Jointly Controlled Operations)

การควบคุมร่วมในการดำเนินงาน มีลักษณะการดำเนินงาน ดังนี้
1. ไม่มีการจัดตั้งเป็นบริษัท
2. ไม่มีการแยกโครงสร้างการเงินจากผู้ร่วมค้า
3. ผู้ร่วมค้าจะใช้ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ของตนเอง
4. ผู้ร่วมค้าต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย และหนี้สินของตนเอง
5. มีการกำหนดการจัดสรรผลตอบแทนและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นรวมกันไว้ในสัญญา
6. ไม่ต้องจัดทำงบการเงินของกิจการร่วมค้า


ที่มา:http://coursewares.mju.ac.th:81/e-learning47/section2/ac401/Chapter-04-01.htm

ตัวแทนจำหน่าย






ตัวแทนจำหน่าย คือ ตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทอย่างเป็นทางการสามารถจำหน่ายจ่ายแจกสินค้า
ให้กับทั้งตัวแทนขาย หรือ ตัวแทนจำหน่ายหลายย่อย หรือลูกค้าทั่วไป และ มีทีมงานเจ้าหน้าที่คอยบริการลูกค้าสำหรับบริการหลังการขาย (after sale services)

เงื่อนไขตัวแทนจำหน่าย
1. ตัวแทนจำหน่ายต้องเป็นบุคคล หรือ นิติบุคคล
2. มีสำนักงานที่ตั้งในพื้นที่พร้อมดำเนินการ
3. ตัวแทนจำหน่ายต้องทำการตลาดและจำหน่ายสินค้า กะปุกท็อปอัพ
4. ต้องสั่งซื้อต้สำหรับเตรียมพร้อมจำหน่ายขั้นต่ำ 10 เครื่อง ในการสมัครเข้ามาครั้งแรก
5. ทั้งนี้ต้องได้รับการอนุมัติแต่งตั้งจาก คณะกรรมการของบริษัท

ส่วนลดการขายบริษัทจะให้ส่วนลดการขายกับศูนย์บริการ โดยขึ้นกับความสามารถของศูนย์บริการในการขยายตลาด

รูปแบบการจำหน่ายให้กับกะปุกท็อปอัพ1. การจำหน่ายรูปแบบขายขาด

2. การจำหน่ายรูปแบบของเฟรนไชส์ของบริษัทฯ
3. การจำหน่ายในรูปแบบเป็นนายทุนเอง และจำหน่ายเฟรนไชส์ด้วยตนเอง
** รายได้ขึ้นอยู่กับรูปแบบการจำหน่าย และการอนุมัติจากบริษัทฯ

พื้นที่ในการจัดจำหน่าย
ตัวแทนจะมีสิทธิในพื้นที่ที่ทำการร้องขอในการทำสัญญา หรือบริษัทพิจารณาพื้นที่การเป็นตัวแทนจำหน่ายให้

หน้าที่ของศูนย์บริการ
1. ทำการตลาดและการจัดจำหน่ายตามนโยบายของบริษัท
2. จำหน่ายและส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า พร้อมการติดตั้ง
3. มีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการแนะนำ, ปรึกษา และการสนับสนุนการจัดจำหน่ายแก่ตัวแทนขาย
4. มีทีมช่างที่ออกติดตั้งและดูแลบริการหลังการขายในพื้นที่รับผิดชอบ
5. ควบคุมมาตรฐานของการเป็นตัวแทนจำหน่าย ในด้านการทำตามนโยบายบริษัทฯ การบริการหลังการขายที่ดีให้กับลูกค้า

การสนับสนุนของบริษัท
1. สนับสนุนข้อมูลการจัดจำหน่ายกะปุกท็อปอัพ, การส่งเสริมการขายต่างๆ ให้กับตัวแทนจำหน่าย
2. การแจกเอกสารประชาสัมพันธ์ เช่น แผ่นพับ
3. มีการโฆษณาผ่านสื่อต่าง เช่น หนังสือ หรือ หน้าเว็บของบริษัท
4. มีระบบงานสำหรับการจัดจำหน่ายที่เป็นผู้ลงทุนตู้ และสามารถบริหารตู้เองได้



ที่มา:http://www.kapooktopup.com/dealer.php

ระบบบัญชี

ระบบบัญชี (The Function of Accounting)

ระบบบัญชี หมายถึง ระบบการประมวลผลข้อมูลทางการบัญชี และเป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้ไปใช้ ประโยชน์ในเชิงบริหาร
ระบบบัญชีเป็นระบบที่รองรับรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการต่างๆ ทางธุรกิจ ซึ่งท่านสามารถกำหนดข้อมูลพื้นฐานทางบัญชีได้ตามโครงสร้างของบริษัทและผังบัญชีของบริษัท ซึ่งรายการทางบัญชีจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อมีการทำธุรกรรมต่างๆ ในแต่ละระบบงาน และระบบบัญชีจะรองรับการคำนวณสินค้าคงคลัง

1. ระบบซื้อ (Purchase System)
-ดำเนินธุรกรรมในระบบซื้อ เช่น รายงานภาษีซื้อ, รับสินค้า / รับใบแจ้งหนี้, ใบลดหนี้ (ส่งคืนสินค้า)
-ระบบจะตรวจสอบเครดิตของลูกค้าให้อัตโนมัติเมื่อมีการทำธุรกรรมกับลูกค้ารายนั้นๆ
-ระบบจะคำนวณหาประมาณการวันที่ ที่จะครบกำหนดชำระเงินให้โดยอัตโนมัติเมื่อมีสั่งซื้อสินค้า
-มีระบบจดจำราคาสินค้าของแต่ละผู้ขาย

2. ระบบขาย (Sale System)
- ดำเนินธุรกรรมในระบบขาย เช่น รายงานภาษีขาย, ทำการออกใบกำกับภาษี/สำเนาบิลส่งสินค้า/ใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงิน, ใบลดหนี้, ใบสั่งของชั่วคราว
-ระบบจะตรวจสอบเครดิตของลูกค้าให้อัตโนมัติเมื่อมีการทำธุรกรรมกับลูกค้ารายนั้นๆ
-ระบบจะคำนวณหาประมาณการวันที่ ที่จะครบกำหนดชำระเงินให้โดยอัตโนมัติเมื่อมีสั่งซื้อสินค้า
- มีระบบจดจำราคารวมสินค้าของแต่ละลูกค้า
-กำหนดอัตราภาษีได้เอง
- กำหนดราคาขาย ตาม จำนวนสินค้าที่ขายในบิลนั้นๆได้

3. ระบบลูกหนี้ (Account Receivable System)
สามารถตรวจสอบดูความเคลื่อนไหว และสถานะของเอกสารสำคัญในระบบลูกหนี้ได้เช่น Invoice ขาย ใบลดหนี้ สามารถเก็บข้อมูลรายละเอียดเช็คของลูกค้าแต่ละคนเพื่อใช้ในครั้งต่อไปได้ รับชำระได้ทั้งเงินสด , เช็ค

4. ระบบเจ้าหนี้ (Account Payable System)
สามารถตรวจสอบดูความเคลื่อนไหว และสถานะของเอกสารสำคัญในระบบเจ้าหนี้ได้เช่น Invoice ซื้อ ใบลดหนี้ สามารถเก็บข้อมูลรายละเอียดเช็คของเจ้าหนี้แต่ละคนเพื่อใช้ในครั้งต่อไปได้ รับชำระได้ทั้งเงินสด , เช็ค

5. ระบบสินค้าคงคลัง (Inventory System)
สามารถค้นหาข้อมูลตามรหัสสินค้า หรือชื่อสินค้า และมี Look up ในกรณีที่จำรหัสไม่ได้ กำหนด ราคาขาย ได้ไม่จำกัด หรือใช้ ราคาล่าสุด ก็ได้

การจัดตั้งบริษัท / การจดทะเบียนบริษัท

การจัดตั้งบริษัท - การจดทะเบียนบริษัท
สำหรับ"การจัดตั้งบริษัท"จำกัดนั้น ต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
  1. มีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป เพื่อทำหนังสือบริคณห์สนธิขึ้น แล้วนำไปจดทะเบียน
  2. หลังจากได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องจัดให้หุ้นของบริษัทที่จะตั้งขึ้นนั้น มีผู้เข้าชื่อจองซื้อหุ้นจนครบ
  3. ดำเนินการประชุมจัดตั้งบริษัท โดยต้องส่งคำบอกกล่าวนัดประชุม ให้ผู้จองทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุม
  4. เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัทและที่ประชุมได้แต่งตั้งกรรมการบริษัทแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องมอบหมายกิจการ โดยให้กรรมการบริษัทรับไปดำเนินการต่อไป
  5. กรรมการบริษัทเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้จองหุ้นทำการชำระค่าหุ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น (ทุนของบริษัทจะแบ่งสัดส่วนเป็นกี่หุ้นก็ได้ แต่จะต้องไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท)
  6. เมื่อได้รับเงินค่าหุ้นแล้ว กรรมการต้องไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน 3 เดือน หลังจากการประชุมตั้งบริษัท
การดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม /หรือเลิก /และชำระบัญชีบริษัทจำกัด
ในกรณีที่บริษัทจำกัดนั้นได้ตกลงที่จะแก้ไข-เพิ่มเติมรายการใด ๆ ที่ได้ทำการจดทะเบียนไว้ เป็นอย่างอื่น หรือผู้ถือหุ้นจะเลิกกิจการ ก็จะต้องไปดำเนินการขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมรายการนั้น ๆ หรือจดทะเบียนเลิกและเสร็จการชำระบัญชี ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ห้างนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งไว้อยู่
การจดทะเบียนจัดตั้งและแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องดำเนินการตามวิธีและหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายและระเบียบของทางราชการได้กำหนดไว้ รายการจดทะเบียนที่บริษัทจะต้องจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม
  1. การแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิก่อนการตั้งบริษัท
  2. มติพิเศษของบริษัทให้
    (1) เพิ่มทุน
    (2) ลดทุน
    (3) ควบบริษัท
  3. ควบบริษัท
  4. แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริดณห์สนธิภายหลังตั้งบริษัท
  5. เพิ่มทุน
  6. ลดทุน
  7. กรรมการ
  8. จำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัท
  9. ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และ/หรือสำนักงานสาขา
  10. ตราของบริษัท
  11. รายการอื่นที่เห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ
วิธีการ จดทะเบียน มีขั้นตอนดังนี้
  1. ในกรณี การจดทะเบียนบริษัท หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัท ให้ผู้เริ่มก่อการหรือกรรมการของบริษัท จะต้องขอตรวจและจองชื่อบริษัทเสียก่อนว่า ชื่อที่จะใช้นั้นจะซ้ำ หรือคล้ายกับคนอื่นที่จดทะเบียนไว้ก่อนหรือไม่ เมื่อจองชื่อได้แล้วจะต้องขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิภายใน 30 วัน
  2. ซื้อคำขอและแบบพิมพ์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือสำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจทั้ง 7 แห่ง หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด
  3. จัดทำคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบคำขอ ยื่นต่อนายทะเบียนเพื่อตรวจพิจารณา
  4. ชำระค่าธรรมเนียมตามใบสั่งของเจ้าหน้าที่
  5. ถ้ามีความประสงค์จะได้หนังสือรับรองรายการในทะเบียน ให้ยื่นคำขอและชำระค่าธรรมเนียมต่อเจ้าหน้าที่ด้วย
  6. รับใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน และหนังสือรับรองรายการในทะเบียนได้

ที่มา :  http://www.buncheeaudit.com

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ความแตกต่างระหว่างผู้สอบบัญชีภาษีอากรและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตb


ความแตกต่าง
ผู้สอบบัญชีภาษีอากร
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
1. การขึ้นทะเบียน
     ต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาต เป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรจากอธิบดีกรมสรรพากร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ท.ป.98/2544
     ต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547 
2. สิทธิในการปฏิบัติงาน
     สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีเฉพาะห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก (ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท)
     สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
3. หลักเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน
     ปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์  วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.122/2545 สำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก
     ปฏิบัติงานตามที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนดสำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดใหญ่  
    
     ปฏิบัติงานตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเช่นเดียวกับผู้สอบบัญชีภาษีอากรสำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก 
4. การรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี
     จัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไว้ในคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.122/2545  
สำหรับการตรวจสอบห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก
     จัดทำรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตสำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดใหญ่ 

     จัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเช่นเดียวกับผู้สอบบัญชีภาษีอากรสำหรับการตรวจสอบห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก


ที่มา : http://www.rd.go.th

ผู้สอบบัญชีภาษีอากร

"ผู้สอบบัญชีภาษีอากร"  หมายถึง ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากรที่ขอขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมสรรพากร โดยสามารถ ตรวจสอบและรับรองบัญชีเฉพาะห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่ได้รับ ยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 (ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นดังกล่าว มีทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท)

      ดังนั้น ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจึงเป็นวิชาชีพอิสระ บุคคลที่จะขอขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องมีคุณสมบัติและผ่านการทดสอบตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.98/2544 เรื่องกำหนดคุณสมบัติ การทดสอบ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การอบรม การต่ออายุ และการขอออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร


คุณสมบัติของผู้ขอเข้ารับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร
          กรมสรรพากรได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ขอเข้ารับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ดังนี้
1.สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือประกาศนียบัตรทางการบัญชี ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรองเทียบเท่าไม่ต่ำกว่าปริญญาดังกล่าว
[ผู้ยื่นคำขอเข้าทดสอบจะต้องได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย ไม่เกินวันที่ วันสุดท้ายของการรับสมัครในแต่ละครั้ง]
2. มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
3. มีสัญชาติไทย หรือมีสัญชาติของประเทศที่ยินยอมให้บุคคลสัญชาติไทยเป็น ผู้สอบบัญชีในประเทศนั้นได้
4. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
5. ไม่เคยต้องโทษจำคุกในคดีเกี่ยวกับภาษีอากรหรือคดีอื่นที่อธิบดีเห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งความเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร
6. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
7. ไม่เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีที่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักหรือถูกเพิกถอน ใบอนุญาต
8. ต้องผ่านการทดสอบตามที่อธิบดีกำหนด
สิทธิของผู้สอบบัญชีภาษีอากร
        สามารถลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบและรับรองบัญชีงบการเงินของห้างหุ้นส่วน จดทะเบียนที่จัดตั้งขี้นตามกฎหมายไทยที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 (ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นดังกล่าว มีทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท ซึ่งเรียกว่า “ห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลขนาดเล็ก”)

ที่มา : http://www.rd.go.th

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาติ

         "ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต" เป็นชื่อที่บัญญัติขึ้นใหม่และมีคำนิยามไว้หมายความว่า ผู้ได้รับ ใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ และใบอนุญาตนั้นยังไม่ขาดอายุ ไม่ถูกพัก ไม่ถูกเพิกถอน ดังนั้น ผู้ที่ไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีก็ดี ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแล้วแต่ ขาดต่ออายุใบอนุญาต ถูกพักใช้ใบอนุญาตหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตก็ดี ย่อมไม่เป็นผู้สอบบัญชี รับอนุญาตตามกฎหมาย หากลงลายมือชื่อรับรองการสอบบัญชีของธุรกิจใดที่กฎหมายบัญญัติให้มีการสอบบัญชีหรือให้มีผู้สอบบัญชีแล้วย่อมมีความผิด และอาจได้รับโทษตามกฎหมายการขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตนั้น ผู้ซึ่งจะขึ้นทะเบียนต้องมีพื้นความรู้และลักษณะครบถ้วน ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนี้

1.เป็นผู้ได้รับปริญญาทางการบัญชี หรือประกาศนียบัตรทางการบัญชี ซึ่ง ก.บช.เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือเป็นผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีที่มีการศึกษาวิชาการบัญชี ซึ่ง ก.บช. เห็นสมควรให้เป็นผู้สอบบัญชี รับอนุญาต
2.เคยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสอบบัญชีมาแล้ว โดย ก.บช. เห็นว่าทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้
3.มีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์
4.มีสัญชาติไทย หรือมีสัญชาติของประเทศที่ยินยอมให้บุคคลสัญชาติไทยเป็นผู้สอบบัญชีในประเทศนั้นได้
5.ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
6.ไม่เคยต้องโทษจำคุกในคดีที่ ก.บช. เห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
7.ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
8.ไม่ประกอบอาชีพอย่างอื่นที่ไม่เหมาะสมหรือทำให้ขาดความเป็นอิสระในหน้าที่ผู้สอบบัญชี



ความมุ่งหมาย
          ความมุ่งหมายในการตราพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ.2505 ขึ้นนั้น ก็เนื่องจากว่าการสอบบัญชีเป็นวิชาชีพที่มีความสำคัญแก่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และนับวันจะมีความสำคัญขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากความต้องการของธุรกิจและอุตสาหรกรรมของประเทศประกอบกับได้มีผู้สำเร็จการศึกษาวิชาการบัญชีจากมหาวิทยาลัย และสำนักศึกษาต่าง ๆ มากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดคุณสมบัติและพื้นความรู้ของผู้สอบบัญชีให้อยู่ในมาตรฐานและมีการควบคุมการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตให้เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชี และเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่รัฐ และบุคคลที่เกี่ยวข้องและเป็นผลดีแก่วิชาชีพการสอบบัญชีด้วย เพื่อให้เป็นไปตามความมุ่งหมายดังกล่าว พระราชบัญญัติผู้สอบบัญชีได้กำหนดให้มีคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี หรือก.บช. กับทั้งให้จัดตั้งสำนักงาน ก.บช. ขึ้นในกระทรวงเศรษฐการเพื่อบริหารงานตามที่ได้รับมอบหมาย

สิทธิและหน้าที่ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
          ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมีสิทธิลงลายมือชื่อรับรองการสอบบัญชีในฐานะผู้สอบบัญชีของธุรกิจที่กฎหมายบัญญัติให้มีการสอบบัญชีหรือให้มีผู้สอบบัญชี และมีสิทธิลงลายมือชื่อรับรอง เอกสาร ในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีผู้สอบบัญชีรับรองสำหรับสิทธิประการแรก ผู้ซึ่งมิได้เป็น ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจะลงลายมือชื่อรับรองการสอบบัญชีในฐานะผู้สอบบัญชีไม่ได้ ถ้าฝ่าฝืนก็ มีความผิด แต่สำหรับสิทธิประการที่สอง มีผลแต่เพียงว่า เอกสารที่ทำขึ้นไม่มีผลตามกฎหมายนั้นๆ ถ้ามิได้รับรองโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมีหน้าที่ดังนี้ 


            1.ต้องรักษามรรยาทตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวงถ้าฝ่าฝืนอาจถูกสั่งพักหรือ เพิกถอนใบอนุญาต
            2.ในกรณีที่มีการย้ายสำนักงานหรือมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนต้องแจ้งต่อ นายทะเบียนภายในกำหนด 15 วัน นับตั้งแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

อายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
       ใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมีอายุ 5 ปี นับแต่ออกใบอนุญาตตามข้อบังคับ ของ ก.บช. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต้องต่ออายุใบอนุญาตภายในระยะเวลา 3 เดือน ก่อนวันที่ใบ อนุญาตสิ้นอายุ และต้องชำระค่าธรรมเนียมก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุด้วย มิฉะนั้นเป็นอันขาด จากการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

ที่มา : http://www.suretax-accounting.com

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

การใช้อำนาจของผู้บริหาร

การใช้อำนาจของผู้บริหารแบ่งได้ดังนี้
  1. การใช้อำนาจเด็ดขาด อาจจะเป็นในวงการทหารหรือตำรวจ จะเห็นได้อย่างเด่นชัดซึ่งจำเป็นจะต้องมีความเด็ดขาดในการสั่งการ เพราะทหาร ตำรวจ จะต้องมีวินัยในการปกครองซึ่งกันและกัน บรรดาตำรวจที่มีอาวุธอยู่ในมือด้วยแล้ว หากขาดวินัยก็จะเสมือนกับกองโจรที่สามารถกระทำผิดได้ตลอดเวลา
  2. การใช้อำนาจอย่างมีศิลปะ ผู้นำโดยทั่วไปเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ มีความอดทนรวมไปถึงประสบการณ์ในการบังคับบัญชาคน หากการทำงานโดยเอาใจเขามาใส่ใจเราแล้วผลงานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะต้องเป็นที่ยอมรับของคนโดยทั่วไป
  3. การใช้อำนาจด้วยวิธีการปรึกษาหารือ เป็นลักษณะของการใช้อำนาจวิธีการหนึ่งซึ่งใช้กันอย่างมากมาย เพราะผู้บริหารที่เปิดใจกว้างย่อมได้รับการยอมรับของผู้ร่วมงานด้วยกัน โดยเฉพาะในเรื่องของการสอนงานแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาในลักษณะการใช้อำนาจด้วยวิธีการปรึกษาหารือ
  4. การใช้อำนาจแบบมีส่วนร่วม บางคนอาจจะบอกว่าการใช้อำนาจแบบมีส่วนร่วมถือเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดเนื่องจากผู้บริหารเปิดใจกว้าง ผลผลิตที่ได้จะมีประสิทธิภาพสูงสุดแต่จะต้องขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของแต่ละคน ในทางทฤษฎีแล้ว การใช้อำนาจให้เป็นประโยชน์อาจเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมรวมถึงลักษณะของการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมนั้น ๆ

ที่มา : http://women.sanook.com

ประเภทของผู้นำ




  • ผู้นำแบบเผด็จการ เป็นผู้นำที่มีความเด็ดขาดในตัวเองถือเรื่องระเบียบวินัย กฏเกณฑ์ข้อบังคับเป็นหลัก ในการดำเนินงานการตัดสินใจต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับผู้นำแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ในแง่การบริหารงานทางด้านวิชาการด้านธุรกิจจะเปรียบเสมือนกิจการที่เป็นเจ้าของบุคคลเดียว ที่มีการดำเนินการและตัดสินใจเฉพาะผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการเท่านั้น




  • ผู้นำแบบประชาธิปไตย ถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในโลกปัจจุบัน ให้สิทธิ์ในการออกความคิดเห็น สิทธิในการเรียกร้อง รวมไปถึงการเคารพสิทธิของผู้อื่นด้วยการเป็นประชาธิปไตยจึงเป็นลักษณะหนึ่งที่สังคมค่อนข้างจะยอมรับกันมากกว่าผู้นำประเภทอื่น ๆ




  • ผู้นำแบบตามสบาย เป็นผู้นำที่ไปเรื่อย ๆ มีความอ่อนไหวไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นผู้นำที่เป็นที่รักของผู้ร่วมงานอย่างมาก ผู้นำประเภทนี้จึงมีมากมายตามแต่ละกิจกรรมต่าง ๆ บางครั้งอาจมองว่าเป็นบุคคลที่ไม่มีจุดยืนเป็นของตัวเอง หรือมองโลกในแง่ดีซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชาที่ขยันอาจจะไม่ชอบลักษณะผู้นำประเภทนี้ในทางปฏิบัติบางแห่งในตัวผู้นำอาจจะมีรูปแบบของการเป็นผู้นำทั้ง 2 ประเภทในคนเดียว อาจจะมีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นออกมาแต่ละประเภท ซึ่งสามารถควบคุมการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลักษณะการใช้อำนาจของผู้นำแตกต่างกันออกไป เพราะในตัวผู้นำแต่ละคนมีอำนาจมีอิทธิพล สามารถดำเนินการหรือสั่งการได้ตามความเหมาะสม




  • ทีี่มา: http://women.sanook.com

    10 หนทางสู่ความสำเร็จจากนักธุรกิจดัง

    1.อย่าเสียเวลากับงานที่คุณไม่รัก
           ถ้า จะให้ดีต้องเริ่มทำงานจากสิ่งที่รักเสียก่อน เลือกทำเฉพาะสิ่งที่รักเท่านั้นแล้วจะได้เปรียบ มีความสุขในสิ่งที่เลือกแล้ว หากได้ทำงานที่รักจะรู้สึกมีความสุข มีความกระฉับกระเฉง และทำมันได้ดีขึ้นๆ เพราะเหมือนกับการได้ฉีดสารกระตุ้นจากความกระตือรือร้นและความปรารถนาอัน แรงกล้าในตัวเอง คุณจะไม่รู้สึกว่าคุณกำลังทำงาน และสร้างแรงจูงใจให้ทำงานได้อย่างสุดความสามารถทีเดียว
    "ความรู้สึกรักหรือหลงใหลในสิ่งที่กำลังทำ คือสิ่งที่สำคัญมากที่จะทำให้ประสบความสำเร็จได้อย่างยาวนาน"  เพราะถ้าไม่ชื่นชอบในสิ่งที่ทำ ในที่สุดจะล้มเหลวไม่เป็นท่า หรืออย่างดีที่สุดก็คือคุณจะกลายเป็นแค่คนทำงานธรรมดาๆ เท่านั้น จะไม่ได้ชีวิตการทำงานที่ยิ่งใหญ่ แต่ถ้าได้ทำงานที่รัก ชอบ ความทุ่มเทสุดตัวก็เกิดขึ้น ทำงานให้เต็มที่เพื่อที่จะเป็นมนุษย์ทำงานที่ยิ่งใหญ่ เพราะความรู้สึกหลงใหลในสิ่งที่ทำจะเป็นแรงผลักดันที่สำคัญที่ทำให้งานประสบ ความสำเร็จ คุณจะไม่ยอมแพ้และรู้สึกเหน็ดเหนื่อย 


    2.ตั้งมาตรฐานให้สูง
          ถามตัวเองว่าอะไรคือมาตรฐานของสิ่งที่ต้องการให้ใครๆ รู้จัก บอก ตัวเองให้ได้ว่ามาตรฐานนั้นอยู่ตรงไหน และทำให้ได้ตามนั้น อย่าหลอกตัวเอง จงตั้งมาตรฐานให้สูงเข้าไว้ แล้วใช้เวลาไตร่ตรองสิ่งที่มุ่งหน้าจะทำ เปิดกว้างรอ รับความคิดเห็นใหม่ๆ และสิ่งที่จะมากระทบ สิ่งที่คาดหวังต้องยืดหยุ่นได้ ไม่ใช่คงที่ตายตัว ค้นให้พบว่าใครหรืออะไรที่เป็นสุดยอดในสายตาของคุณ ใครคือผู้นำ ใครคือผู้กำหนดแนวทาง ใครคือผู้ทรงอิทธิพล อะไรคือสาเหตุที่พวกเขาเป็นที่หนึ่งได้ ศึกษามาตรฐานของเขา
    หาให้ได้ว่าอะไรคือสิ่งที่ต้องเรียนรู้ หรือต้องทำเพื่อให้กลายเป็นที่หนึ่งในสายงานที่สนใจ หาทางที่จะเข้าอบรม พบปะผู้คน ไปเป็นเด็กฝึกงาน หาประสบการณ์ที่จำเป็นต้องมีเพื่อจะทำเป้าหมายให้ลุล่วงได้ ให้เวลาตัวเองที่จะรับทุกอย่างเข้ามา ค่อยๆ เพิ่มพูนและรู้จักมันอย่างทะลุปรุโปร่ง มองหาแนวคิดดีๆ จากนอกสายงานที่ถนัด หาสิ่งแปลกใหม่ วิธีใหม่ๆ และฝึกฝนจนสามารถปรับมันให้เข้ากับสายงานของคุณได้

       แนะนำไว้ว่า “ใน ทุกสิ่งที่คุณกำลังดำเนินอยู่ ถามตัวเองว่า ฉันจะทำให้ดีขึ้นได้อย่างไร ฉันจะให้มีคนพูดถึงฉันมากกว่านี้ได้อย่างไร จะทำให้มันสะท้อนส่วนที่ดีกว่าของฉันได้อย่างไร ถ้าหาคำตอบได้ครบจากนั้นก็ลุยเลย” 

    3.ดื้อดึงสู้ตาย อย่าย่อท้อ
       แม้ ว่าคุณจะไม่ได้เกิดขึ้นมาจากกองเงินกองทองก็ไม่ได้เป็นข้อจำกัดการไปให้ได้ ไกลที่สุด จงยอมรับและชื่นชมแม้ว่าคุณจะไม่สมบูรณ์แบบ แต่ลองหาข้อดีให้เจอแล้วทำให้เป็นข้อได้เปรียบ เช่น มีการศึกษาที่ดี มีครอบครัวที่อบอุ่น มีความแน่วแน่ มุ่งมั่น ไม่ลดละ คุณสมบัติเหล่านี้ก็มากพอที่จะช่วยให้สำเร็จได้ 

    4.หากไร้ซึ่งความรู้ ความสามารถ ก็หมดโอกาส
           จงไขว่คว้าหาความรู้ เรียนรู้ทุกอย่างเท่าที่ทำได้จากแต่ละโครงการที่คุณรับผิดชอบ หากเข้ามาในสนามการทำงานที่ไม่รู้มากพอ จะเสียทั้งเงินเสียทั้งเวลา เปรียบเหมือนการแข่งกีฬาโดยไม่รู้กติกาของเกม คุณจะมีแต่เสียเปรียบ ศึกษาธุรกิจของตัวเองให้รอบด้าน ทุกธุรกิจมีความเสี่ยง แต่ความเสี่ยงจะน้อยลงมากหากเรียนรู้ทุกด้านของสิ่งที่กำลังทำให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แสวง หาความรู้ให้มากเพื่อจะได้ตัดสินใจได้ดีขึ้นและกลายเป็นคนเก่งขึ้นได้ในที่ สุด ใครก็อยากคุยกับคนเก่งมากกว่า เมื่อเป็นคนมีความรู้คุณจะกลายเป็นคนน่าสนใจและได้รับความเอาใจใส่มากขึ้น จงเริ่มแต่เนิ่นๆ และหมั่นศึกษาอยู่เสมอไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไหร่ หรือจะประสบความสำเร็จแค่ไหน เมล็ดพันธุ์แห่งความรู้เติบโตได้ในทุกแห่งหน

    5.ทำงานกับคนที่คุณชอบ
          หาก เราได้ทำงานกับคนที่เราชื่นชอบเราจะรู้สึกมีความสุขมากขึ้น และทำให้อายุการทำงานในสถานที่นั้นๆ นานขึ้น หลายคนชื่นชอบในหัวหน้างาน เจ้าของบริษัท และทำงานอยู่ด้วยกันเป็น 10 ปี หรือ 20 ปี ถ้าไม่ศรัทธาในกันและกันคงทนกันไม่ได้นานขนาดนี้ ดังนั้นให้กำหนดตัวอย่างในการทำงานและสรรหาบุคคล เพื่อที่คุณจะได้ดึงดูดคนที่เหมาะสม นั่นคือวิธีที่ดีที่สุดที่จะได้ทำงานกับคนที่ชอบ องค์กรส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงก็ต้องมีความหลากหลาย ซึ่งดีกว่ามีคนที่มีพื้นฐานเหมือนกันไปหมด ความแตกต่างดังกล่าวนำมาซึ่งความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ และเพิ่มความเข้าใจให้กับงาน 

    6.จงว่ายทวนน้ำ
       พื้นที่ ที่สะดวกสบายมากเกินไปสามารถลากคุณให้ลงไปสู่จุดที่อยู่ใต้น้ำได้ เพราะเผลอกับความสบายมากเกินไป ดังนั้นกระแสไฟของคุณอาจไหลดีขึ้นหากเปลี่ยนเต้าเสียบเสียใหม่ให้ลงตัวกว่า เดิม มันง่ายที่จะเดินตามเส้นทางสายเก่าและไม่ก่อคลื่นลูกใหม่ แต่วิธีง่ายที่สุดสามารถทำให้เรากลายเป็นคนธรรมดาที่ไม่มีไฟไปได้ แค่นั่งหวังลมๆ แล้งๆ ว่าทุกอย่างจะดีขึ้นจะกลายเป็นการดับฝันคุณได้ ไม่เป็นไรถ้าคุณไม่ชอบความท้าทาย ความสบายจะกลายเป็นหลุมพรางที่หลอกล่อให้อยู่กับที่ มันทำให้ขี้เกียจ ไม่อยากก้าวไปข้างหน้า แต่ในโลกธุรกิจความสบายใจจะฉุดรั้งให้หยุดอยู่กับที่ อย่ากลัวที่จะเสี่ยง ทำสิ่งที่คุณรักและชอบแล้วกำหนดทิศทางของคุณเอง ถาม ตัวเองเสมอๆ ว่ากำลังทำสิ่งที่คุณรัก อยากทำ และมันคือสิ่งที่ใช่สำหรับคุณหรือเปล่า ไม่ต้องสนใจความคาดหวังของคนอื่นแต่สู้กับความต้องการของตัวเอง แต่ก่อนตัดสินใจให้ดูสถานการณ์ให้ดีก่อนทุ่มเทไปอย่างเต็มตัว 

    7.เงินไม่ใช่บรรทัดสุดท้ายเสมอไป
       ในโลกแห่งความเป็นจริง พวกเราส่วนใหญ่ต้องการหาเงินกันทั้งนั้น แต่ก็ยังมีจุดประสงค์อื่นที่สำคัญไม่แพ้เงิน หรือสำคัญกว่า เช่น แรงกระตุ้นและความพอใจที่เราได้จากการทำงาน รวมทั้งความท้าทายของมัน การได้สร้างโอกาสที่จะเรียนรู้ เติบโต และติดต่อกับคนที่โดดเด่น เพราะการเดินทางสายอาชีพของเรานั้นเป็นการลงทุนระยะยาวที่จะทำให้คุณมีอะไร ทำไปตลอดชีวิต จงสร้างอนาคตและใคร่ครวญถึงวัตถุประสงค์มากกว่าแค่ก้มหน้าก้มตาหาเงินอย่าง เดียว คิดถึงชื่อเสียงของคุณ และบริษัทของคุณ หาเพื่อนใหม่ สร้างความสัมพันธ์กับองค์กรและชุมชน ลงทุนกับความพอใจส่วนตัวที่งานสามารถนำมาให้ได้ คนที่คิดว่าเงินบันดาลทุกสิ่ง อาจถูกมองว่าทำทุกอย่างเพื่อเงิน 

    8.รอจังหวะที่เหมาะสม
         ความสำเร็จในชีวิตหรือหน้าที่การงานในหลายๆ ครั้ง เป็นเรื่องของจังหวะและความอดทน เพราะจังหวะคือทุกสิ่ง ทุกวันนี้มีบริษัทคู่แข่งมากมายที่ทำธุรกิจเดียวกับคุณ แต่การมาอย่างถูกจังหวะย่อมดีกว่าการเป็นรายแรกเสมอไป เช่นเดียวกับการเลือกโอกาสที่เหมาะสม เพราะวัตถุประสงค์ในการทำธุรกิจก็คือทำให้สินค้าติดตลาดขายดีและอยู่รอด ถ้าคิดว่าทำให้เร็วก็อาจจะไปเร็วได้เช่นกัน ฉะนั้นจงรอคอยจังหวะและโอกาสที่เหมาะสมด้วย คิดถึงแผนระยะยาว มีความอดทนและทำงานอย่างมีวินัย 

    9.หลีกเลี่ยงรูปแบบที่ตายตัว
          รู้จัก เปิดกว้างและยืดหยุ่นในการทำงาน บ่อยครั้งที่ต้องทำงานอย่างมุ่งมั่นและดันทุรังบ้าง แต่คุณต้องรู้ว่าเมื่อไหร่ควรเปลี่ยน และเมื่อไหร่ควรยืดหยุ่นได้ ถ้าจะทำเฉพาะสิ่งที่ตายตัวมันอาจจำกัดตัวคุณ และอนาคต ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้ และไม่มีอะไรที่เป็นไปตามแผนทั้งหมด ดังนั้นหากมีอะไรต้องเปลี่ยนแปลง อย่างที่มันน่าจะเกิด ก็ต้องปรับตัว เปลี่ยนแปลง และบางครั้งอาจต้องวกกลับเลยก็ได้ 

    10.ความเร็วชนะในการแข่งขัน
          ทุกธุรกิจไม่มีเวลามากพอสำหรับคนที่พูดจาเรื่อยเปื่อยไม่เข้าประเด็น ไม่ว่าคุณจะทำอะไร จงทำให้สั้น กระชับ ฉับไว และตรงประเด็น การพูดจาที่สั้นกระชับได้ใจความเป็นวิธีที่สุภาพ เพราะมันแสดงว่าคุณให้เกียรติ เวลาของคนอื่น เพราะเวลาที่คนต้องฟังอะไรที่ยืดยาวไม่ได้ความ จะทำให้เขาอึดอัด เบื่อหน่าย และมีหลายครั้งพวกเขาไม่ฟังสิ่งเหล่านั้นเลยกำหนดระยะเวลาให้ตัวคุณเอง ฝึกนำเสนองานหรือรายงานให้จบได้ภายใน 5 นาที ตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปให้หมด พูดให้ตรงประเด็น ถ้ามีคำถามพวกเขาจะถามคุณเอง ข้อมูลมากมายแต่ไม่ได้ใช้ก็ไม่มีสาระอะไร

    ที่มา : http://www.jobjob.co.th

    ตลาดหุ้น คืออะไร?

              ตลาดหุ้น หรือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  คือ ตลาดซึ่งเป็นแหล่งรวมของบริษัทหลายๆ บริษัท ที่เข้ามาทำการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้ผู้ที่มีเงินเหลือเก็บ ซึ่งเราเรียกว่า "นักลงทุน" เข้ามาร่วมลงทุน และนักลงทุนเหล่านั้นก็จะเป็นหนึ่งในผู้ร่วมถือหุ้นของบริษัท หรือร่วมเป็นเจ้าของในบริษัทนั้นๆ การลงทุนในตลาดหุ้นจึงเป็นทางเลือกเพื่อการออมเงินในระยะยาวที่ผู้ออมสามารถหลีกเลี่ยง หรือป้องกันการขาดทุนที่เกิดจากระดับอัตราเงินเฟ้อได้ ตลาดหลักทรัพย์จัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดให้มีแหล่งกลางสำหรับการซื้อ ขาย หลักทรัพย์ เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ และเพื่อการระดมเงินทุนในประเทศ โดยได้เปิดให้มีการซื้อขายขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518 โดยชื่อภาษาอังกฤษในขณะนั้นคือ "Securities Exchange of Thailand" และได้มีการเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเป็น "The Stock Exchange of Thailand (SET)" เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา

             สำหรับการทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการซื้อขายหลักทรัพย์ และสนับสนุนการระดมเงินทุนระยะยาวของธุรกิจนั้น สามารถจำแนกออกได้ตามขนาดของธุรกิจที่ต้องการจะระดมทุน หรือ บริษัทจดทะเบียน โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำหน้าที่สนับสนุนการระดมทุนในตลาดทุนของธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ กิจการสาธารณูปโภค และรัฐวิสาหกิจที่มีการแปรรูป ซึ่งมีทุนชำระแล้วตั่งแต่ 200 ล้านบาท ขึ้นไป รวมทั้งเป็นศูนกลางการซื้อขายเปลี่ยนมือหลักทรัพย์ของบริษัทดังกล่าว ในขณะที่ ตลาดหลักทรัพย์ใหม่ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2528 ทำหน้าที่สนับสนุนการระดมทุนในตลาดทุนของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีศักยภาพ หรือ SMEs ที่มีทุนชำระแล้วต่ำกว่า 200 ล้านบาท และเป็นศูนกลางการซื้อขายเปลี่ยนมือหลักทรัพย์ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมดังกล่าว โดยเริ่มเปิดการซื้อขายหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2544

    บทบาทและภาระหน้าที่ของตลาดหุ้น

    1) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน และพัฒนาระบบต่างๆ ที่จำเป็นเพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายหลักทรัพย์

    2) ดำเนินธุรกิจใดๆที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ เช่น การทำหน้าที่เป็นสำนักหักบัญชี (Clearing House) ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ นายทะเบียนหลักทรัพย์ หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

    3) การดำเนินธุรกิจอื่นๆ ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์



    ที่มา : http://www.fpo.go.th

    ลักษณะของนักลงทุนกับการลงทุน

        จะเห็นได้ว่า หุ้น มีอยู่หลากหลายประเภท แต่ละประเภทก็จะแตกต่างกัน ซึ่งนักลงทุนควรที่จะทำความเข้าใจก่อนที่จะเริ่มลงทุน โดยในทางทฤษฎีแล้ว นักลงทุนทุกคนมักต้องการลงทุนในหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่สูงที่สุด โดยมีความเสี่ยงที่ต่ำที่สุด แต่ในความเป็นจริง ผลตอบแทนในการลงทุนนั้น แปรผันตรงกับความเสี่ยง หมายความว่า ยิ่งผลตอบแทนสูง ยิ่งต้องมีความเสี่ยงสูงตามไปด้วย นอกจากนี้ การเลือกลงทุนยังขึ้นอยู่กับ อุปนิสัยของนักลงทุนแต่ละคน และเวลาที่นักลงทุนแต่ละคนจะมีด้วย ซึ่งอาจแบ่งเป็นกลุ่มง่ายๆ ได้ดังนี้


       
    ลักษณะของนักลงทุน
       
    หลักทรัพย์ที่เหมาะกับการลงทุน
       
    มีความเข้าใจระบบตลาดหลักทรัพย์เพียงพอ
       
    หุ้นสามัญ
       
    มีเวลาศึกษาติดตามข้อมูลสถานการณ์
       
    หุ้นบุริมสิทธิ
       
    มีที่ปรึกษาการลงทุนที่เชี่ยวชาญ
       
    หุ้นกู้แปลงสภาพ
       
       ต้องการผลตอบแทนรวดเร็วและพร้อมรับความเสี่ยง   
       
    ใบสำคัญแสดงสิทธิประเภทต่างๆ
       
    คาดหวังผลตอบแทนระยะยาว
       
    หุ้นกู้
       
    เน้นการออมและการลงทุนระยะยาว
       
           ตราสารในภาครัฐบาลและภาครัฐวิสาหกิจ       
       
    ต้องการความเสี่ยงต่ำ
       
    หุ้นสามัญ ในกลุ่ม Blue Chip บางตัว
       
    คาดหวังผลตอบแทนในระยะปานกลางถึงระยะยาว
       
    หน่วยลงทุนในกองทุนต่างๆ
       
    ไม่เชี่ยวชาญในการซื้อขายหลักทรัพย์
       
    หน่วยลงทุนในกองทุนต่างๆ
       
    ไม่มีเวลาติดตามสถานการณ์
       
    หน่วยลงทุนในกองทุนต่างๆ
       
    ไม่มีความคล่องตัวในการลงทุน
       
    หน่วยลงทุนในกองทุนต่างๆ


    ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

    ทำไมจึงต้องลงทุนในตลาดหุ้น?

            สำหรับผู้ที่มีเงินออมและประสงค์จะบริหารเงินออมของตนให้เกิดประโยชน์นั้น นอกเหนือจากการฝากเงินไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อรับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยเงินฝากแล้ว ยังมีทางเลือกอื่นๆสำหรับการบริหารเงินออมและการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพได้อีกหลายวิธี การลงทุนในตลาดหุ้นก็นับเป็นทางเลือกหนึ่งของการลงทุนที่น่าสนใจ ซึ่งผู้มีเงินออมมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่สูงกว่าและหลากหลายรูปแบบกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการฝากเงินในธนาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสถาณการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากลดต่ำลงอย่างมากอย่างในปัจจุบัน จึงไม่เป็นสิ่งจูงใจในต่อการฝากเงิน สำหรับผู้ที่มีเงินออมเหลืออยู่แล้วนั้น จะถือเงินไว้เฉยๆ โดยไม่บริหารการเงินการลงทุนอะไรเลยก็คงจะไม่เหมาะนัก ดังนั้นจึงควรพิจารณาหาช่องทางการลงทุนอื่นๆ เพื่อเพิ่มพูนผลตอบแทนจากเงินออมของตนจะดีกว่า

             ดังนั้น การลงทุนในตลาดหุ้น จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้มีเงินออม โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการความหลากหลายในการลงทุน ทั้งประเภทของสินค้าที่จะลงทุน ผลตอบแทนจากการลงทุน เพราะในตลาดหุ้น มีสินค้าหรือตราสารการลงทุนหลายประเภท ซึ่งออกโดย บริษัทที่ประกอบธุรกิจในหลายประเภทอุตสาหกรรม สำหรับให้เลือกลงทุนได้ตามความต้องการ ทั้งนี้ การเข้ามาลงทุน และถือหุ้นในกิจกิจการใดๆก็ตามในตลาดหลักทรัพย์ จะเกิดผลประโยชน์หลายประการ ทั้งต่อตนเอง และต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม เพราะเราจะได้มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการต่างๆที่มีศักยภาพ หรือธุรกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดี และมีโอกาสได้รับผลตอบแทนทางการเงินจากการลงทุนในรูปแบบต่างๆ เช่น ได้รับเงินปันผล สิทธิในการจองซื้อหุ้นออกใหม่ หรือ กำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นต้น นอกจากนี้ การลงทุนในตลาดหุ้นยังถือได้ว่ามีบทบาทในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนการพัฒนาตลาดทุนและระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม การลงทุนย่อมมีความเสี่ยงตามมาด้วยเสมอ ดังนั้นผู้ลงทุนจึงควรศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนอย่างละเอียด จะช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถบริหารความเสี่ยงจากการลงทุนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และสามารถได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในระดับที่น่าพึงพอใจตามที่คาดหวังได้

    ที่มา: http://www.fpo.go.th

    หุ้น คืออะไร?


    1) หุ้นสามัญ (Common Stock)

    คือหุ้นที่นักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดซื้อขายกันอยู่ และมีจำนวนมากกว่า 80% ของหุ้นในตลาดทั้งหมด โดยหุ้นสามัญนี้เป็นตราสารประเภท หุ้นทุน ซึ่งออกโดยบริษัทมหาชนจำกัด ที่ต้องการระดมเงินทุนจากประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของในธุรกิจนั้นๆ โดยตรง เช่น การมีสิทธิในการลงคะแนนเสียง ร่วมตัดสินในปัญหาสำคัญในที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยผลตอบแทนที่คุณจะได้โดยตรงก็คือ เงินปันผลจากกำไรในธุรกิจ กำไรจากการขายหุ้นถ้าหุ้นปรับตัวขึ้น และสิทธิในการจองซื้อหุ้นใหม่ ในกรณีที่มีการเพิ่มทุนจดทะเบียน

    2) หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock)

    เป็นตราสารประเภทหุ้นทุน มีข้อแตกต่างจากหุ้นสามัญ คือ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ ในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ หุ้นประเภทนี้มีไม่มากนักในตลาดหลักทรัพย์ มีการซื้อขายกันน้อย มีสภาพคล่องต่ำ บนกระดานหุ้นจะสังเกตุได้จาก -P เช่น SCB-P, TISCO -P เป็นต้น

    3) หุ้นกู้ (Debenture)

    เป็นตราสารที่บริษัทเอกชนออกเพื่อกู้เงินระยะยาวจากผู้ลงทุน โดยผู้ลงทุนจะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของกิจการบริษัท และบริษัทจะต้องจ่ายผลตอบแทนเป็นอัตราดอกเบี้ยให้แก่ผู้ถือตามระยะเวลา และอัตราที่กำหนด โดยผู้ถือจะได้รับเงินต้นคืนครบถ้วน เมื่อสิ้นอายุตามระบุในเอกสาร ตลาดหุ้นกู้มักมีสภาพคล่องในการซื้อขายไม่มากนัก ส่วนใหญ่ซื้อขายโดย ผู้ลงทุนประเภทสถาบัน หรือผู้ลงทุนระยะยาว

    4) หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Debenture)

    หุ้นกู้แปลงสภาพ คล้ายคลึงกับ หุ้นกู้ แต่แตกต่างกันตรงที่ หุ้นกู้แปลงสภาพมีสิทธิที่จะแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ ในช่วงเวลาอัตราและราคาที่กำหนดในหนังสือชี้ชวน ในช่วงที่เศรษฐกิจดี หุ้นประเภทนี้ได้รับความนิยมมาก เพราะผู้ซื้อคาดหวังผลตอบแทน ได้จากราคาหุ้นเมื่อแปลงสภาพแล้ว ซึ่งจะทำให้ได้กำไรมากกว่า ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยของหุ้นกู้ธรรมดา

    5) ใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant)

    เป็นตราสารที่ระบุว่าผู้ถือครองจะได้รับสิทธิจองซื้อ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ หรือตราสารอนุพันธ์ ในราคาที่กำหนดเมื่อถึงระยะเวลาที่ระบุไว้ ใบสำคัญแสดงสิทธิ มักจะออกควบคู่กับการเพิ่มทุน

    6) ใบสำคัญแสดงสิทธิระยะสั้น (Short - Term Warrant)

    ใบสำคัญแสดงสิทธิชนิดนี้จะมีอายุไม่เกิน 2 เดือน และเป็นทางเลือกหนึ่งจากการระดมทุนจากผู้ถือหุ้น แทนการจัดสรรสิทธิในการจองซื้อหุ้น และบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์สามารถยืนคำขอให้รับเป็นหลักทรัพย์ประเภทที่ซื้อขายหมุนเวียนในตลาดหลักทรัพย์ได้

    7) ใบสำคัญแสดงสิทธอนุพันธ์ (Derivative Warrant : DW)

    เป็นตราสารที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับ ใบสำคัญแสดงสิทธิทั่วไป โดยจะให้สิทธิแก่ผู้ถือ DW ในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์อ้างอิง ซึ่งอาจเป็นหลักทรัพย์ หรือดัชนีหลักทรัพย์ ในราคาใช้สิทธิ อัตราการใช้สิทธิ และระยะเวลาใช้สิทธิที่กำหนดไว้ โดยบริษัทผู้ออก DW เป็นหลักทรัพย์ หรือ เงินสดก็ได้

    8) หน่วยลงทุน (Unit Trust)

    คือ ตราสารที่ออกโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ในรูปของหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการระดมเงินทุนจากประชาชน โดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมจะเป็นผู้บริหารกองทุนให้ได้รับผลตอบแทนสูงสุด แล้วนำมาเฉลี่ยคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในรูปของเงินปันผล ข้อดีของการลงทุนประเภทนี้คือ จะมีผู้บริหารมืออาชีพดูแลเงินแทนเรา มีการกระจายความเสี่ยงโดยการลงทุนในหุ้นกลุ่มต่างๆ และมีอำนาจต่อรองที่มากกว่า เพราะเป็นกองทุนขนาดใหญ่


    ที่มา : http://www.fpo.go.th

    การเป็นผู้ประกอบการ





    ความหมายของการทำบัญชี


    ในหลักการบัญชี การบัญชีและการทำบัญชีนั้น มีความหมายแตกต่างกัน ซึ่งการทำบัญชีนั้น มีผู้กล่าวไว้ดังนี้

    Sidney Davidson และ Roman L.Weil (Davidson and Weil 1977 : vii ) กล่าวว่า

    “ การทำบัญชี คือ ระบบการให้ข้อมูล โดยเป็นระบบข้อมูล ซึ่งออกแบบขึ้นเฉพาะ เพื่อสื่อความหมายทางเศรษฐกิจ อย่างมีคุณค่าขององค์การธุรกิจต่าง ๆ หรือผลประโยชน์อื่น ๆ ของหน่วยงาน ”

    สวัสดิ์ พุ่มภักดี ( 2537 : 4 ) กล่าวว่า

    “ การทำบัญชี ” ได้แก่ การจดบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับการเงิน หรือสิ่งของที่กำหนดมูลค่าเป็นเงินไว้เป็นหลักฐาน โดยจัดแยกไว้เป็นประเภทต่าง ๆ เพื่อให้แสดงผลงานอันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน ตลอดจนการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานนั้น ๆ 

    ธนชัย ยมจินดา ( 2532 : 10 ) กล่าวว่า

    “ การทำบัญชี เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการบัญชี กล่าวคือ เป็นงานประจำที่เกี่ยวข้องกับการบันทึก และรวบรวมข้อมูลประจำวัน เพื่อให้สามารถจัดทำงบการเงินต่าง ๆ ต่อไปได้ ” 

    พจนานุกรม สำหรับนักบัญชีของ Kohler กล่าวใน การบัญชีเบื้องต้นของ ธรรมนูญ อัดคพานิช , พยอม สิงห์เสน่ห์ ( 2524 : 1 ) ว่า

     “ การทำบัญชี เป็นวิธีการวิเคราะห์ จัดประเภท และบันทึกรายการ โดยมีแผนที่ได้จัดวางไว้ เพื่อความเป็นระเบียบในการดำเนินกิจการ สามารถแสดงฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของการประกอบการได้ ” 
    บทสรุป

            การทำบัญชี เป็นการรวบรวมข้อมูล แล้วนำไปจดบันทึกรายการธุรกิจที่เกิดขึ้นตามลำดับเหตุการณ์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลจัดทำงบการเงิน และรายงานประจำของผู้มีหน้าที่ทำบัญชี

    ดังนั้น การบัญชี ( Accounting ) และการทำบัญชี ( Book – Keeping ) จึงแตกต่างกันกล่าวคือ

         การบัญชี เป็นวิชาการเกี่ยวกับการใช้ความคิดในการวางระบบบัญชี เพื่อให้ผู้ทำบัญชีที่มีหน้าที่รวบรวมข้อมูล และทำรายงานประจำ ตามกฎและระเบียบปฏิบัติงาน นอกจากนี้ ต้องจัดวางและประเมินผลระบบควบคุมภายใน วิเคราะห์ตีความข้อมูล ใช้ข้อมูลสถิติตัดสินใจวางแผนงานในอนาคตของหน่วยงาน ผู้ปฏิบัติงานการบัญชี เรียกว่า “ Accountant ”
          การทำบัญชี เป็นงานประจำที่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการบัญชี ซึ่งมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลบันทึกรายการค้าจัดทำงบการเงิน และรายงานเกี่ยวกับงานประจำ ตามกฎและระเบียบวิธีปฏิบัติที่วางไว้ ผู้ทำบัญชี จึงเรียกว่า “ Book - Keeper ”


    คำจำกัดความของคำว่า “การบัญชี”

    จากคำจำกัดความของคำว่า การบัญชี สามารถอธิบายความหมายได้ดังนี้
    1. ขั้นตอนของการเลือกและการเก็บรวบรวม
    คือการพิจารณาว่ารายการที่เกิดขึ้นเป็นรายการค้าหรือไม่ (เป็นเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่กิจการต้องนำมาบันทึกหรือไม่) ต้องเก็บรวบรวมเอกสารหลักฐานเพื่อไว้ใช้ในการบันทึกบัญชี
    2. การจดบันทึกและการวัดมูลค่า
    เป็นการนำข้อมูลเอกสารจากขั้นตอนแรกมาบันทึกรายการทางบัญชีหรือรายการค้าและเหตุการณ์ ซึ่งจะต้องเป็นรายการหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมาบันทึกลงในสมุดบัญชี เรียกว่า สมุดรายวัน (Journal) การบันทึกจะมีการวัดมูลค่าเข้ามาเกี่ยวข้อง การวัดมูลค่า หมายถึง การแสดงมูลค่าของรายการนั้นๆ จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าเป็นรายการประเภทไหน เช่น วัดด้วยราคาทุน (ราคา ณ วันที่ได้มา) หรือวัดด้วยราคายุติธรรม (ราคาที่ผู้ซื้อและผู้ขายมีความเต็มใจในการซื้อขายกัน ไม่มีใครมีอำนาจเหนือใคร)
    3. การใช้หน่วยเงินตรา
    การบันทึกรายการทางบัญชีต้องใช้หน่วยเงินตรา เช่น บาท ดอลลาร์ เป็นต้น และถือว่าจำนวนที่บันทึกลงไปแต่ละหน่วยจะมีค่าคงที่ แม้ค่าของเงินจะเปลี่ยนแปลง
    4.การจัดหมวดหมู่
    เพื่อหายอดคงเหลือของทุกรายการโดยการแยกประเภทบัญชีเป็นสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ และค่าใช้จ่าย ในการจัดหมวดหมู่จะใช้สมุดบัญชีที่เรียกว่า สมุดแยกประเภท (Ledger)
    5.การสรุปผลและการรายงานข้อมูลทางการเงิน
    เมื่อมีการบันทึกบัญชีไประยะหนึ่ง จะต้องนำรายการที่จัดหมวดหมู่มาสรุปผลดำเนินการและฐานะของกิจการโดยจัดทำ งบการเงิน (Financial Statement) ซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วนคือ
    1)  งบกำไรขาดทุน
    2)  งบดุล
    3)  งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น
    4)  งบกระแสเงินสด
    5) นโยบายบัญชี และหมายเหตุประกอบงบการเงิน นโยบายบัญชี เป็นหลักการทางบัญชีที่กิจการใช้ในการจัดทำ และนำเสนองบการเงิน สำหรับหมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญทำให้ผู้ใช้งบการเงินได้ทราบหลักปฏิบัติทางบัญชีที่กิจการเลือกใช้ในการจัดทำและนำเสนองบการเงิน



    องค์ประกอบของการบริหาร

           จากแนวความคิดการบริหารงานของนักวิชาการต่าง ๆ ที่ได้ในความหมายของการบริหารเอาไว้ จะเห็นว่าการบริหารนั้นมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ เป้าหมาย (Goal) ปัจจัยการบริหาร (Factor of Management) และลักษณะของการบริหาร (Management Style) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ (ณรงค์ นันทวรรธนะ, 2536 : 8)

    1. มีเป้าหมาย (Goal) หรือวัตถุประสงค์ที่แน่นอนในการบริหารองค์การ ผู้บริหารจะต้องมีการกำหนดทิศทางหรือวัตถุประสงค์ของการทำงานไว้ชัดเจน

    2. มีปัจจัยในการบริหาร (Factor of Management) โดยทั่วไปแล้วปัจจัยในการบริหารที่เป็นพื้นฐานมี 5 ประการ คือ
                        2.1 คน (Men)
                        2.2 เงิน (Money)
                        2.3 วัสดุ (Material)
                        2.4 เทคนิควิธี (Method)
                        2.5 เครื่องจักร (Machine)



    ที่มา : http://www.km.nida.ac.th

    วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

    คำว่า “การจัดการ”

    คำว่า “การจัดการ” (Management) จะเน้นการปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบาย (แผนที่วางไว้) ซึ่งนิยมใช้ในการจัดการธุรกิจ (Business management) 
    ส่วนคำว่า “ผู้จัดการ” (Manager) จะหมายถึงบุคคลในองค์กรซึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบต่อกิจกรรมในการบริหารทรัพยากรและกิจการงานอื่นๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ขององค์กร

    การบริหารจัดการ (Management) หมายถึงชุดของหน้าที่ต่างๆ (A set of functions) ที่กำหนดทิศทางในการใช้ทรัพยากรทั้งหลายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายขององค์กร การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient) หมายถึง การใช้ทรัพยากรได้อย่างเฉลียวฉลาดและคุ้มค่า (Cost-effective) การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิผล (Effective) นั้นหมายถึงการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง (Right decision) และมีการปฏิบัติการสำเร็จตามแผนที่กำหนดไว้ ดังนั้นผลสำเร็จของการบริหารจัดการจึงจำเป็นต้องมีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล ควบคู่กัน






    ที่มา : http://www.kmitnbxmie8.com

    คำว่า “การบริหาร”

    คำว่า “การบริหาร” (Administration) จะใช้ในการบริหารระดับสูง โดยเน้นที่การกำหนดนโยบายที่สำคัญและการกำหนดแผนของผู้บริหารระดับสูง เป็นคำนิยมใช้ในการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) หรือใช้ในหน่วยงานราชการ และคำว่า “ผู้บริหาร” (Administrator) จะหมาถึง ผู้บริหารที่ทำงานอยู่ในองค์กรของรัฐ หรือองค์กรที่ไม่มุ่งหวังกำไร

    การบริหาร คือ กลุ่มของกิจกรรม ประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การสั่งการ (Leading/Directing) หรือการอำนวย และการควบคุม (Controlling) ซึ่งจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับทรัพยากรขององค์กร (6 M’s) เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และด้วยจุดมุ่งหมายสำคัญในการบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลครบถ้วน







    ที่มา : http://www.kmitnbxmie8.com

    การบริหารและการจัดการแตกต่างกันอย่าไร

             คำว่า “การบริหาร” (Administration) และ “การจัดการ” (Management) มีความหมายแตกต่างกันเล็กน้อย โดยการบริหารจะสนใจและสัมพันธ์กับการกำหนดนโยบายไปลงมือปฏิบัติ นักวิชาการบางท่านไห้ความเห็นว่าการบริหารใช้ในภาครัฐ ส่วนการจัดการใช้ในภาคเอกชน อย่างไรก็ดี ในตำราหรือหนังสือส่วนใหญ่ทั้ง 2 คำนี้มีความหมายไม่แตกต่างกัน สามารถใช้แทนกันได้และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป (สุรัสวดี ราชกุลชัย, 2543, น.3)

         จากความหมายต่างๆ ข้างต้น การบริหารจัดการจึงเป็นกระบวนการของกิจกรรมที่ต่อเนื่องและประสานงานกัน ซึ่งผู้บริหารต้องเข้ามาช่วยเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กร ประเด็นสำคัญของการบริการจัดการ (Management) มีดังนี้

    1) การบริหารจัดการสามารถประยุกต์ใช้กับองค์กรใดองค์กรหนึ่งได้
    2) เป้าหมายของผู้บริหารทุกคนคือ การสร้างกำไร
    3) การบริหารจัดการเกี่ยวข้องกับการเพิ่มผลผลิต (Productivity) โดยมุ่งสู่ประสิทธิภาพ (Efficiency) (วิธีการใช้ทรัพยากรโดยประหยัดที่สุด) และประสิทธิผล (Effectiveness) (บรรลุเป้าหมายคือประโยชน์สูงสุด)
    4) การบริหารจัดการสามารถนำมาใช้สำหรับผู้บริหารในทุกระดับชั้นขององค์กร





    ที่มา : http://www.kmitnbxmie8.com

    การบริหารจัดการที่ดีมีประสิทธิภาพทำอย่างไร


    1. หลักการบริหาร        หลักในการบริหารมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมและในแต่ละสถานการณ์ แต่ที่สำคัญที่ได้ยึดถือกันมาโดยตลอดคือ การบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participative Management) โดยมีการปรึกษาหารือกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่สำคัญ ๆ ทุกคนควรจะต้องรับรู้รับทราบ ร่วมกันตัดสินใจ และร่วมกันทำ รวมทั้งการใช้หลัก การบริหารแบบพี่น้อง มีปัญหาหรือเรื่องอะไรที่สำคัญ จะปรึกษาผู้อาวุโส ซึ่งเป็นที่เคารพของทุกคน ไม่มีการเข้มงวดมาก มีการให้รางวัลและพร้อมที่จะไม่ให้รางวัลแก่คนที่ไม่ดี มีอะไรก็จะพูดกันแบบตรงไปตรงมา ดูผู้อาวุโส เป็นต้นแบบ (Modeling)
    สำหรับผู้บริหารระดับกลางจะต้อง ศึกษา Style การบริหารและวัฒนธรรมของหน่วยงานของตน เพราะ style การบริหารแต่ละคนไม่เหมือนกัน ต้องปรับรูปแบบการบริหารของเราให้เข้ากับนายได้ วิธีการพูดหรือ approach กับนายบางคนก็ไม่เหมือนกัน ต้องศึกษาว่านายเป็นอย่างไร culture ของคณะเป็นอย่างไร
    2. ด้านความรู้ ความรู้ที่ผู้บริหารระดับกลางพึงมีที่สำคัญคือ2.1 ต้องรู้ระเบียบทุกเรื่องที่เกี่ยวข้อง เพราะราชการมีข้อบังคับ ระเบียบและประกาศต่าง ๆ ทีเกี่ยวข้องซึ่งต้องบริหารงานให้เป็นไปตามที่กำหนด มิฉะนั้นแล้วก็จะทำให้มีความผิดได้ การรู้กฎระเบียบจะทำให้งานรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ ดังนั้นก่อนจะส่งงานหรือเสนองานต้องตรวจสอบว่าถูกต้องตามกฎระเบียบหรือไม่
    2.2 ต้องใช้เทคโนโลยีเป็นในระดับผู้บริหาร ผู้บริหารระดับกลางต้องใช้ IT เป็นในระดับผู้บริหาร คืออย่างน้อยใช้ด้วยตัวเองไม่เป็นแต่ต้องรู้ว่าใช้ทำอะไร ในขณะเดียวกันต้องเตรียมตัวให้พร้อมในการใช้ระบบ IT รวมทั้งพัฒนาบุคลากรของเราให้มีความพร้อมความเข้าใจใน IT มากขึ้น นอกจากนั้นแล้วทักษะด้านภาษาอังกฤษก็เป็นสิ่งสำคัญ
    2.3 ต้องแลกเปลี่ยนความรู้ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างหน่วยงานจะช่วยทำให้เพิ่มพูนมากขึ้น ทำให้รู้จักวิธีการทำงานของแต่ละหน่วยงาน งานเลขาฯ ที่สำคัญคือ บางคณะบทบาทอาจารย์อาจจะมาก บางคณะบทบาทอาจารย์อาจจะน้อย การบริหารก็จะต่างกัน เลขาฯ ได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันจะช่วยให้งานแต่ละงานดีขึ้น
    ผู้บริหารระดับกลางต้องมีการพัฒนาและแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน และรวมกันให้เป็นหนึ่ง ความสำคัญที่สุดของสถาบันที่จะดำเนินการไปได้ขึ้นอยู่กับกลุ่มผู้บริหารระดับกลาง เพราะข้างบนทำนโยบาย วางกรอบ แต่จะขับเคลื่อนด้วยผู้บริหารระดับกลาง ถ้าผู้บริหารระดับกลางทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จะดำเนินไปด้วยดี การวางนโยบายไม่ใช่เป็นเรื่องยาก องค์กรของคนญี่ปุ่นคนที่สำคัญคือคนระดับกลาง เพราะคนตรงกลางประสานระหว่างข้างบนกับข้างล่าง ต่อให้ข้างบนวางนโยบายอย่างดีแต่ถ้าไม่ได้มีการสานต่อก็จะไม่สามารถบรรลุผลได้
    3. ด้านมนุษยสัมพันธ์3.1 ประสานงานอย่างไม่เป็นทางการก่อน เพื่อลดปัญหาการขัดแย้ง การโต้เถียงกัน ลดการซ้ำซ้อนของงาน
    3.2 การพูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน ถ้ามีอะไรไม่เข้าใจกันให้มาคุยกัน อย่าไปเถียงกัน...เถียงกันแล้วก็ไม่สบายใจ ทำให้ผิดใจ
    3.3 สร้างความร่วมมือ ให้เกิดขึ้นในองค์กรด้วยการมีมนุษยสัมพันธ์ในการทำงานที่ดีและบริหารความขัดแย้ง ต้องมี attitude ที่ดีต่อกัน ทำอย่างไรให้ประนีประนอมกันให้มากที่สุด ใครที่ไม่ชอบใครก็อย่าไปพูดกับคนนั้นให้มาก รายละเอียดเล็กน้อย ปลีกย่อยอย่าแคร์มาก พยายามจัดกิจกรรมให้เจ้าหน้าที่มีส่วนร่วมกันเพื่อลด conflict เป้าหมายคือประสิทธิภาพของหน่วยงาน
    3.4 อ่อนน้อมถ่อมตัว อ่อนโยนและจริงใจ อ่อนน้อมถ่อมตัว อ่อนโยนและจริงใจเป็น character ที่มีเสน่ห์ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ก็พูดกับเด็กดี ๆ เด็กก็นับถือ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ ๆ ก็นับถือ
    4. ด้านการปฏิบัติงาน4.1 การจัดลำดับความสำคัญของงาน4.2 ตรงต่อเวลา จึงจะถือว่ามีคุณภาพใช้ได้ เหมือนกับสินค้าที่ต้องมีคุณภาพที่ดี ราคาถูกต้องและส่งตรงเวลา
    4.3 ลด Boundary ของกองใน สอธ. หลาย ๆ งานจะมีความเกี่ยวข้องกัน ใน สอธ. จะไม่มี boundary ของกอง งานบางอย่างที่สำคัญ เช่น งานออกนอกระบบก็อาจทำเป็น task force ขึ้นมา หลาย ๆ กองมาช่วยกันทำ ประเด็นคือ ใน สอธ.จะต้องทำงานร่วมกัน เป็น flat มากขึ้น
    4.4 UPDATE ข้อมูล และใช้ IT เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
    หน้าที่ของฝ่ายสนับสนุนคือจะต้อง update ข้อมูลตลอดเวลา การบริหารการเรียนการสอนจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นก็ด้วยระบบ IT เข้ามามีบทบาทมากขึ้น สองส่วนคือ e-learning และ e-office เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ถ้าหากเราเรียนรู้ได้ก็จะทำให้การให้บริการการศึกษาของเรามีความรวดเร็ว มีความทันสมัย การเรียนการสอนจะพัฒนาเป็น e-learning ระบบการบริหารจัดการภายใน เป็นระบบ e-office ก็จะทำให้มีความรวดเร็ว
    4.5 ต้องกล้าที่จะเสนอแนะเพื่อพัฒนางานผู้บริหารระดับกลางคงทำอะไรใหม่ไม่ได้มากเพราะขึ้นอยู่กับคณบดี รองคณบดี เป็นหลัก เราจะตัดสินใจได้ค่อนข้างน้อย แต่เราเป็นผู้เสนอได้ว่า น่าจะทำอย่างนี้ถ้าอาจารย์เห็นดีด้วยก็ทำได้ แต่ถ้าไม่เห็นดีด้วยก็ไม่ต้องทำ เพราะเราไม่ได้อยู่ในระดับ decision maker ไม่ได้เป็นคนตัดสินใจแต่เสนอได้ซึ่งจะทำให้การปรับปรุงมีประสิทธิภาพมากขึ้น
    สิ่งที่น่าจะช่วยกันได้ก็คือ ถึงแม้เราจะไม่ได้ตัดสินใจ แต่ควรจะเสนอได้ว่าควรเป็นแบบนี้ ผู้บริหารมาแล้วก็ไป ความต่อเนื่องอยู่ที่ผู้บริหารระดับกลาง
    5. ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
    5.1 อย่ายึดติดกับการปรับเปลี่ยนโยกย้ายคน ขอให้มองภาพของการโยกย้าย การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องของการพัฒนาคน การเปลี่ยนงานมีอยู่ 2 อย่าง คือ หนึ่งเพื่อให้งานไหลลื่นขึ้น สอง ประสบการณ์ บางทีทำงานสัก 4-5 ปีมันเริ่มเบื่อหน่าย ไม่ใช่การลงโทษแต่ความจริงแล้วมันทำให้มีประสบการณ์มากขึ้น ทำให้ fresh ขึ้นด้วย มองภาพแบบนี้ซึ่งคงจะ dynamic มากขึ้น
    5.2 การแบ่งโครงสร้างที่มีอยู่เราจะเน้นเรื่องของความรวดเร็ว ความเที่ยงตรง และความมีประสิทธิภาพ บุคลากรทุกคนต้องมี Job Description สิ่งเหล่านี้จะต้องทำให้เจ้าหน้าที่เข้าใจ เจ้าหน้าที่ของเราทุกคนต้องมี Job Description ถ้ามี Job Description ครบ ในฐานะหัวหน้าหน่วยงานเราจะรู้ว่างานแต่ละงานมีผู้รับผิดชอบหรือยัง และจะรู้ว่ามีงานบางงานมีความซ้ำซ้อนกันไหม งานอะไรที่ขาดยังไม่มีคนทำ เพราะฉะนั้นจาก Job Description จะทำให้จัดบุคลากรได้เหมาะสม เป็นเรื่องที่จะช่วยว่ามีงานครอบคลุมมากน้อยแค่ไหน
    5.3 พัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการในฐานะที่เป็นหัวหน้าหน่วยงาน ต้องดูแลบุคลากรสายสนับสนุนว่าจะทำอย่างไรให้บุคลากรของเราทำงานให้มีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นเรื่องของการดูแล การบริหาร การพัฒนาบุคลากรเป็นหัวใจสำคัญ ที่จะต้องเน้นว่าให้ผู้ที่ทำงานกับเราได้รับการพัฒนา ในแต่ละปีต้องทำแผนพัฒนาบุคลากร ทำอย่างไรให้เจ้าหน้าที่ของเราทุกคนมีการพัฒนาตนเอง ทำให้ระบบงานของตนเองมีความก้าวหน้า มีความรวดเร็วโดยตลอด ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ขององค์การคือ ทุกคนจะต้องขวนขวายหาความรู้ และในขณะเดียวกันการอบรม การสัมมนาของหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ควรเพิกเฉยหรือละเลยในเรื่องของการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ ให้พนักงานทุกคนรู้และเข้าใจองค์การแห่งการเรียนรู้
    5.4 สนับสนุนให้ลูกน้องก้าวหน้าในอาชีพสิ่งจูงใจประการหนึ่งซึ่งโดยปกติคนเราทุกคนทำงานไม่ว่าจะอยู่สายไหนก็ต้องการความก้าวหน้าทั้งสิ้น ในทางทฤษฎีของเรื่องสิ่งจูงใจถ้าหากเราไม่เอามาใช้หรือทำให้คนที่ทำงานกับเราก็จะทำให้เป็นข้อติดขัด ถ้าผู้ใต้บังคับบัญชามีโอกาสที่จะเติบโตได้สนับสนุนทุกกรณี เพราะถือเป็นขวัญและกำลังใจที่สำคัญ เมื่อเราดูแลความก้าวหน้า ขวัญกำลังใจและค่าตอบแทนต่าง ๆ ที่สมควรจะได้รับ ก็ต้อง demand กลับว่าทุกคนต้องทำงานด้วยความตั้งใจ
    5.5 ประเมินผลการปฏิบัติงานต้องถูกต้องและยุติธรรมการประเมินต้องมีลักษณะ Objective มากขึ้น ถ้าเป็น Subjective มากไม่สามารถแยกให้เห็นว่าคนนี้ต่างกับคนนั้นอย่างไร ต้องทำให้มี Objective ให้ชัด ๆ เลยว่า ข้อไหนประเด็นไหนคะแนนเป็นอย่างไร ก็จะทำให้แยกความแตกต่างได้ ถ้าหากเป็นลักษณะ Subjective ก็ขึ้นอยู่กับหัวหน้า ระบบที่สำคัญที่จะทำให้คนทำงานกับเรามีขวัญกำลังใจก็จะต้องทำให้เขาได้รับการประเมินที่ถูกต้อง และยุติธรรม อาจจะต้องใช้การประเมิน 360 องศา
    5.6 Empower ให้ฝ่ายสนับสนุน
    มีการ empower ไปยังหัวหน้างาน ทำให้การทำงานได้เร็วขึ้น ทุกเรื่องไม่ต้องไปลงที่เลขานุการคณะหรือผู้อำนวยการกองก็จะทำให้แต่ละคนทำงานได้คล่องตัวขึ้น
    5.7 การสร้างคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดีแก่บุคลากร เพราะงานจะเดินหรือไม่ต้องมีกองทัพที่เข้มแข็งและมีความสุขในการทำงาน ดูแลและเอาใจใส่ลูกน้อง ให้กำลังใจลูกน้อง เพื่อนร่วมงานไม่ใช่ลูกน้อง ต้องดูแลไม่ให้อดอยาก ให้กินดีอยู่ดีพอสมควร..ถามลูกน้องว่าเขาเป็นอย่างไร สบายดีหรือไม่ ..คำพูดดี ๆ ก็ทำให้เขาดีใจ..ผู้บริหารต้องทำให้เป็นธรรมชาติ

    ที่มา : http://www.km.nida.ac.th

    หน้าที่ของการบริหาร

    ทั้งนี้หน้าที่ของการบริหารประกอบด้วยกิจกรรมพื้นฐาน 4 ประการ

    1) การวางแผน (Planning)

             เป็นสิ่งที่องค์กรต้องการเปลี่ยนแปลงในอนาคต การวางแผนเป็นสะพานเชื่อมระหว่างเหตุการณ์ปัจจุบันและอนาคตซึ่งทำได้โดยการให้บรรลุเป้าหมายผลลัพธ์ที่ต้องการ การวางแผนจึงต้องอาศัยการกำหนดกลยุทธ์ที่ประสิทธิภาพ แม้ว่าพื้นฐานของการจัดการโดยทั่วไปเป็นงานของผู้บริหารการวางแผนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการปฏิบัติตามกลยุทธ์ให้ประสบความสำเร็จและการประเมินกลยุทธ์ เพราะว่า การจัดการองค์กร การจูงใจ การจัดบุคคลเข้าทำงาน และกิจกรรมควบคุม ขึ้นกับการวางแผน กระบวนการวางแผนจะต้องประกอบด้วยผู้บริหารและพนักงานภายในองค์กร
             การวางแผนจะช่วยให้องค์กรกำหนดข้อดีจากโอกาสภายนอกและทำให้เกิดผลกระทบจากอุปสรรคภายนอกต่ำสุด โดยต้องมองเหตุการณ์ในอดีตและปัจจุบันเพื่อคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขั้นในอนาคต การวางแผน ประกอบด้วย การพัฒนาภารกิจ (Mission) การคาดคะเนเหตุการณ์ปัจจุบัน เหตุการณ์อนาคต และแนวโน้ม การกำหนดวัตถุประสงค์ และการเลือกกลยุทธ์ที่ใช้
             การวางแผนจะช่วยให้ธุรกิจปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงของตลาดและสามารถกำหนดเป้าหมายได้ การบริหารเชิงกลยุทธ์นั้นต้องการให้องค์กรติดตามในลักษณะเชิงรุก (Proactive) มากกว่าที่จะเป็นเชิงรับ (Reactive) องค์กรที่ประสบความสำเร็จจะต้องควบคุมอนาคตขององค์กรมากกว่าที่จะรอรับผลจากอิทธิพลสภาพแวดล้อมภายนอกและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การตัดสินใจ (Decision Making) ถือเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผน การปรับตัวเป็นสิ่งจำเป็นเพราะว่ามีการเปลี่ยนแปลงของตลาด เศรษฐกิจ และคู่แข่งขันทั่วโลก จุดเริ่มต้นของความสำเร็จที่ดีของธุรกิจคือการวางแผนที่เหมาะสม เห็นผลได้จริง ยืดหยุ่น มีประสิทธิผล และทรงประสิทธิภาพ


    2) การจัดการองค์กร (Organizing)

             จุดมุ่งหมายของการจัดการองค์กรคือ การใช้ความพยายามทุกกรณีโดยการกำหนดงานและความสำคัญของอำนาจหน้าที่ การจัดการองค์กร หมายถึง การพิจารณาถึงสิ่งที่ต้องการทำและผู้ที่จะทำรายงานมีตัวอย่างในประวัติศาสตร์ของธุรกิจที่มีการจัดองค์กรที่ดี สามารถประสบความสำเร็จในการแข่งขันและสามารถเอาชนะคู่แข่งขันได้ ธุรกิจที่มีการจัดองค์กรที่ดีสามารถจูงใจผู้บริหารและพนักงานให้มองเห็นความสำคัญของความสำเร็จขององค์กร
             การกำหนดลักษณะเฉพาะของงาน (Work Specialization) โดยการแบ่งงานประกอบด้วยงานที่กำหนดออกมาเป็นแผนก การจัดแผนก และการมอบอำนาจหน้าที่ (Delegating Authority) การแยกงานออกเป็นงานย่อยตามการพัฒนารายละเอียดของงาน (Job Description) และคุณสมบัติของงงาน (Job Specification) เครื่องมือเหล่านี้มีความชัดเจนสำหรับผู้บริหารและพนักงาน ซึ่งต้องการทราบลักษณะของงาน
            การกำหนดแผนกในโครงสร้างขององค์กร (Organization Structure) ขนาดของการควบคุม (Span of Control) และสายการบังคับบัญชา (Chain of Command) การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ต้องการการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้าง เพราะตำแหน่งใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นหรือลดลงหรือรวมกัน โครงสร้างองค์กรจะต้องระบุถึงวิธีการใช้ทรัพยากรและวิธีการซึ่งวัตถุประสงค์มีการกำหนดขึ้นในธุรกิจ การสนับสนุนทรัพยากรและกำหนดวัตถุประสงค์ตามสภาพทางภูมิศาสตร์จะแตกต่างจากโครงสร้างด้านผลิตภัณฑ์หรือลูกค้า


    3) การนำหรือการสั่งการ (Leading/Directing)

          เป็นการใช้อิทธิพลเพื่อจูงใจพนักงานให้ปฏิบัติงานและนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่ระบุไว้ หรือเป็นกระบวนการจัดการให้สมาชิกในองค์กรทำงานร่วมกันได้ด้วยวิธีการต่างๆ เพราะทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่ซับซ้อนและเข้าใจถ่องแท้ได้ยาก การนำหรือการสั่งการจึงต้องใช้ความสามารถหลายเรื่องควบคู่กันไป อาทิ ภาวะความเป็นผู้นำของผู้บริหาร การจูงใจ การติดต่อสื่อสารในองค์กร และการทำงานเป็นทีม เป็นต้น หน้าที่ในการนำหรือสั่งการนี้ มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าหน้าที่อื่น เพราะผู้บริหารต้องแสดงบทบาทของผู้สั่งการอย่างมีคุณภาพ ถ้าไม่เช่นนั้น แผนงานที่วางไว้ตลอดจนทรัพยากรที่จัดเตรียมไว้อาจไม่เกิดประสิทธิผล ถ้าผู้บริหารดำเนินกิจกรรมด้านการสั่งการไม่ดีพอ ดังนั้น การสั่งการจึงเป็นเรื่องของความรู้ความชำนาญ ประสบการณ์ และความสามารถที่จะชักจูงให้พนักงานร่วมกันปฏิบัติงานไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ให้องค์กรประสบความสำเร็จตามต้องการ

    4) การควบคุม (Controlling)

            การใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร ถือว่าเป็นกระบวนการตรวจสอบ หรือติดตามผลและประเมินการปฏิบัติงานในกิจกรรมต่างๆ ของพนักงาน เพื่อรักษาให้องค์กรดำเนินไปในทิศทางสู่เป้าหมายอย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์หลักขององค์กร ในเวลาที่กำหนดไว้ องค์กรหรือธุรกิจที่ประสบความล้มเหลวอาจเกิดจากการขาดการควบคุม หรือมีการควบคุมที่ไร้ประสิทธิภาพ และหลายแห่งเกิดจากความไม่ใส่ใจในเรื่องของการควบคุม ละเลยเพิกเฉย หรือในทางกลับกันคือมีการควบคุมมากจนเกิดความผิดพลาดขององค์กรเอง การควบคุมจึงเป็นหน้าที่หลักทางการบริหารที่มีความสำคัญ ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการทางการบริหาร





    อ้างอิง : http://www.kmitnbxmie8.com

      วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

      การบัญชีพื้นฐาน

      ความหมายของการบัญชี

      ความหมายของการบัญชี

      การบัญชี (Accounting )   เป็นการรวบรวมข้อมูล จดบันทึก วิเคราะห์ แยกประเภทและสรุปผลออกมาในรูปของรายงานผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกิจการค้า โดยใช้หน่วยวัดของการบันทึกเป็นเงินตรา ซึ่งมีผู้ให้ความหมายไว้ต่าง ๆ กัน ดังนี้


      เฉลา บุญวงศ์ และคณะ ( ม.ป.ป. : 2 ) กล่าวว่า   
      การบัญชี (Accounting) หมายถึง การบันทึกรายการค้าไว้เป็นหมวดหมู่ เป็นประเภทตลอดถึงการสรุปผลการดำเนินงาน และการแสดงฐานะการเงินของกิจการค้าแต่ละรูปแบบ

      สถาบันผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาตของอเมริกา AICPA กล่าวใน ระวัง เนตรโพธิ์แก้ว ( 2537 : 41 ) กล่าวว่า
      “ การบัญชี เป็นศิลปะของการบันทึก จัดชนิด และประเภท ตลอดจนสรุปรายงานที่สำคัญทางการเงิน และเหตุการณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงินแล้วแสดงผลให้ได้ทราบ ” 

      พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน ( 2525 : 463 ) กล่าวว่า

      การบัญชี หมายถึง สมุด หรือกระดาษสำหรับจดรายการต่าง ๆ ไว้เป็นหลักฐาน เช่น บัญชีเงินสด

      ธนชัย ยมจินดา ( 2532 : 5 ) กล่าวว่า

      “ การบัญชี ” เป็นวิชาการเกี่ยวกับการทำข้อมูล ซึ่งเป็นที่ต้องการขององค์การในการทำหน้าที่ด้านการปฏิบัติการ และการประเมินผลการปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      “ การบัญชี ” เป็นศิลปะของการนำรายการต่าง ๆ และเหตุการณ์ทางการเงิน มาจดบันทึก จัดหมวดหมู่ สรุปผล และวิเคราะห์ตีความอย่างมีหลักเกณฑ์

      มาลี ไชยกุล ( 2540 : 2 ) กล่าวว่า

      “ การบัญชี เป็นการบันทึกข้อมูลทางการเงิน ซึ่งจัดหมวดหมู่ แยกประเภท สามารถนำมาแสดงผล ช่วยในการปฏิบัติงานได้ ”

      กรมวิชาการ ( 2522 : 1 ) กล่าวว่า

      “ การบัญชี คือ การจดบันทึกเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน โดยผ่านการวิเคราะห์ แยกประเภท และบันทึกรายการนั้น ๆ ไว้ในแบบฟอร์มที่กำหนด เพื่อแสดงฐานะการเงิน และผลการดำเนินงาน ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ”


      ดังนั้น การบัญชี หมายถึง วิชาการที่ใช้ศิลปะในการบันทึกรายการค้าของธุรกิจลงในสมุดตามลำดับเหตุการณ์ โดยการวิเคราะห์ จัดประเภท หมวดหมู่ สรุปผลการดำเนินงาน และแสดงฐานะการเงินของกิจการค้าในรอบระยะเวลาหนึ่ง

      จรรยาบรรณของนักบัญชี

      จรรยาบรรณของนักบัญชี



                สำหรับการตกแต่งข้อมูลทางบัญชี มักเป็นการตกแต่งตัวเลขเพื่อปิดบังสุขภาพที่แท้จริงของกิจการว่าแย่แล้ว ต้องการการซ่อมแซม แต่เจ้าของกิจการอาจไม่ต้องการเก็บกิจการเน่า ๆ เอาไว้แล้ว หากต้องการขายทิ้งไปมากกว่า ครั้นจะขายของเน่า ๆ ก็คงไม่มีใครซื้อ จึงต้องหาเฟอร์นิเจอร์มาปกปิดส่วนที่เน่า เช่น การนำรายได้ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงมาบันทึกเป็นรายได้ทำให้รายได้สูงกว่าความจริง จึงเกิดกำไรลวงตา ตัวอย่าง บริษัทลอยแน่ จำกัด ส่งสินค้าไปฝากให้บริษัท จำใจขาย จำกัด โดยเมื่อมีการส่งสินค้าไปฝากขายเมื่อใด บริษัทลอยแน่ จำกัด ก็จะบันทึกรายได้ทันที อย่างนี้กำไรในงวดที่บันทึกรายได้ จึงเป็นกำไรจอมปลอม มีแต่เพียงตัวเลขในบัญชีเท่านั้น ส่วนทางด้านค่าใช้จ่าย ก็สามารถตกแต่งตัวเลขได้ไม่ยากนัก เช่น การบันทึกค่าโฆษณาเป็นค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชี (หมายความว่ายังไม่แสดงเป็นค่าใช้จ่าย แต่กลับแสดงเป็นสินทรัพย์ คือเป็นผลประโยชน์ที่คาดว่าจะยังได้ประโยชน์ในอนาคต) โดยตัดจำหน่ายเป็นค่าใช้จ่ายบางส่วนตามสัดส่วนของงานที่ทำเสร็จของแต่ละโครงการ แทนที่จะตัดเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน กรณีนี้ก็ทำให้ค่าใช้จ่ายที่แสดงในงวดนี้ต่ำกว่าความจริง ส่งผลให้กำไรสูงกว่าความจริงได้ หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง คือการคำนวณค่าเสื่อมราคาด้วยระยะเวลาที่ยาวเกินไป โดยเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณอัตราค่าเสื่อมราคาลดลงจากอัตราที่เคยใช้อยู่ โดยให้เหตุผลว่ากิจการได้หยุดดำเนินการเป็นการชั่วคราว ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในอายุการใช้งานในเครื่องจักรจริง วิธีนี้ก็ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายจากค่าเสื่อมราคาลดลง ส่งผลให้กำไรสูงขึ้นได้เช่นกัน

                 จะเห็นได้ว่า งบการเงินที่มีผู้ต้องการใช้ข้อมูลหลายฝ่าย อาจไม่สามารถให้ความมั่นใจต่อผู้ใช้งบการเงินได้ หากจัดทำขึ้นภายใต้ความคดโกงของใครบางคน ทั้งนี้ใครบางคนจะไม่สามารถตกแต่งข้อมูลใด ๆ ได้ หากไม่ได้รับความร่วมมือจากบุคคลผู้นี้ ซึ่งก็คือนักบัญชีนั่นเอง นักบัญชีถือว่าเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงต่อคุณภาพของงบการเงิน ดังนั้น คุณธรรมของนักบัญชีนับเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพของงบการเงิน นอกเหนือจากคุณธรรมของผู้บริหาร วันนี้จึงอยากพูดถึงคำว่า จริยธรรม หรือจรรยาบรรณของนักบัญชี จริยธรรม (ethics) เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินงานของทุกองค์กรเป็นไปอย่างถูกต้องไม่เอารัดเอาเปรียบกัน ซึ่งจะเกิดประโยชน์ทั้งต่อกิจการและส่วนรวม โดยที่นักบัญชีมีหน้าที่ในการจัดทำข้อมูลให้แก่ผู้บริหาร ซึ่งผลการตัดสินใจส่วนหนึ่งย่อมมีผลมาจากข้อมูลที่ผู้บริหารได้รับ ดังนั้นนักบัญชีควรมีจริยธรรมในการเลือกวิธีการจัดทำรายงานตามหลักการที่เหมาะสมถูกต้องเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่มีคุณภาพไม่ลำเอียง (bias) โดยยึดมั่นในเหตุผลตามหลักวิชา

                 นอกจากนี้นักบัญชีต้องเป็นผู้ยึดมั่นต่อความรับผิดชอบสังคมและส่วนรวมด้วย เพราะหากสังคมเสียหาย กิจการก็อาจไม่สามารถดำรงอยู่ในระยะยาวได้ ทั้งนี้นักบัญชีต้องช่วยชี้ให้เห็นถึงข้อมูลที่แสดงถึงผลกระทบทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินที่จะเกิดขึ้นกับกิจการ เช่น หากธุรกิจผลิตสินค้า โดยไม่มีระบบการกำจัดของเสียที่ดี ทำให้เกิดมลภาวะเป็นพิษทางน้ำ อาจส่งผลต่ออาชีพของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในบริเวณรอบ ๆ ทำให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวม ผลที่ตามมาคือความรู้สึกไม่พอใจของประชาชนในบริเวณนั้น อาจทำให้กิจการสูญเสียลูกค้าและส่งผลกระทบถึงผลกำไรจำนวน 20 ล้านบาท โดยที่หากกิจการลงทุนเพิ่มในระบบการจัดการของเสียที่ดี ทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้นเพียง 2 ล้านบาท กิจการก็ควรตัดสินใจลงทุน เพราะประโยชน์ที่ได้รับทั้งในแง่จำนวนเงินซึ่งมากกว่าต้นทุนที่จ่ายไป นอกจากนี้ยังส่งผลต่อภาพลักษณ์ของกิจการที่ดีซึ่งจะช่วยให้กิจการสามารถเติบโตอย่างมั่นคงยั่งยืนได้ ปัจจุบันนี้ประชาชนทั่วโลกต่างตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้น โดยได้มีการประชุมในระดับโลก World Summit on Sustainable Development in 2002 ที่เสนอแนะให้ธุรกิจตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน (corporate environmental and social responsibility) ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและรักษาสิ่งแวดล้อมและสังคมในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม พร้อมยึดถือเป็นนโยบายสำคัญขององค์กร ที่ต้องปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ดังนั้นเป้าหมายหลักในการบริหารธุรกิจจึงเปลี่ยนจากการสร้างกำไรเพียงอย่างเดียว มาเป็นการบริหารธุรกิจเพื่อความยั่งยืน (business sustainability) โดยเลือกแนวทางการดำเนินงานที่ช่วยรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น เช่น การเลือกเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงสุดในกระบวนการผลิตเพื่อจัดการและป้องกันคุณภาพสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต รวมทั้งการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั้งหมด ทั้งคุณภาพอากาศ คุณภาพน้ำ คุณภาพดิน ระดับเสียง สิ่งมีชีวิตในน้ำ ทรัพยากรป่า การกำจัดของเสียในบริเวณโรงงานและพื้นที่โดยรอบ ย่อมเป็นสิ่งยืนยันได้ถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ตลอดจนการลดต้นทุนการผลิตโดยใช้วัตถุดิบที่ผ่านกระบวนการใช้แล้ว (recycle or reused) เพื่อมุ่งเน้นถึงการลดปริมาณการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและช่วยให้ผลิตสินค้าที่มีต้นทุนต่ำ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรมีการพัฒนาที่ยั่งยืนสามารถดำรงอยู่ได้อย่างแท้จริงในระยะยาวเพราะได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคทั่วไป นอกจากการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและสังคมแล้ว นักบัญชียังต้องชี้นำให้ผู้บริหารในองค์กรต่าง ๆ ต้องคำนึงถึงมาตรฐานด้านแรงงานอีกด้วย เพราะมาตรฐานด้านแรงงานเป็นการวัดความมีจริยธรรม ความรับผิดชอบและความมีมนุษยธรรมของผู้บริหาร โดยต้องไม่เอาเปรียบ กดขี่แรงงาน สร้างสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ดี โดยเฉพาะธุรกิจที่ประกอบกิจการส่งออกยิ่งต้องตระหนักถึงความสำคัญในการปรับปรุงมาตรฐานแรงงานเพื่อเตรียมธุรกิจให้พร้อมเพื่อการแข่งขันบนเวทีการค้าโลก

                   ท้ายที่สุดขอฝากถึงบทบาทของนักบัญชีในวันนี้ว่า จะมิใช่เพียงผู้ทำบัญชีอีกต่อไป แต่ยังต้องเป็นผู้แปลความ อธิบาย และเสนอแนะ โดยทำหน้าที่เป็นมือขวาของผู้บริหาร แต่ต้องเป็นมือขวาที่มีจรรยาบรรณ จึงจะสร้างความสำเร็จได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน โดยยึดมั่นในหลักการ ดังนี้
      ประกอบวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตามหลักปฏิบัติและวิชาการ และอยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมาย ไม่แสดงรายการอันทำให้เกิดความสำคัญผิดในสาระสำคัญของรายงาน จนทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผิด ไม่ทำการใด ๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อสังคม และไม่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียในจริยธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม หากทำได้ดังนี้ ก็จะได้ชื่อว่าเป็นนักบัญชีที่มีจรรยาบรรณ โดยไม่ต้องมีใครมาบอกกับท่านว่า “ you never really know what your ethics are until they are put to the test.” เพราะเดี๋ยวนี้ กฎหมายบัญชีเขาเล่นกันถึงคุกเชียวนา พวกเรานักบัญชีคงไม่ชอบผัดซีอิ๊วกับโอเลี้ยงเท่าไรนัก