1.เป็นผู้ได้รับปริญญาทางการบัญชี หรือประกาศนียบัตรทางการบัญชี ซึ่ง ก.บช.เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือเป็นผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีที่มีการศึกษาวิชาการบัญชี ซึ่ง ก.บช. เห็นสมควรให้เป็นผู้สอบบัญชี รับอนุญาต
2.เคยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสอบบัญชีมาแล้ว โดย ก.บช. เห็นว่าทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้
3.มีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์
4.มีสัญชาติไทย หรือมีสัญชาติของประเทศที่ยินยอมให้บุคคลสัญชาติไทยเป็นผู้สอบบัญชีในประเทศนั้นได้
5.ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
6.ไม่เคยต้องโทษจำคุกในคดีที่ ก.บช. เห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
7.ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
8.ไม่ประกอบอาชีพอย่างอื่นที่ไม่เหมาะสมหรือทำให้ขาดความเป็นอิสระในหน้าที่ผู้สอบบัญชี
ความมุ่งหมาย
ความมุ่งหมายในการตราพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ.2505 ขึ้นนั้น ก็เนื่องจากว่าการสอบบัญชีเป็นวิชาชีพที่มีความสำคัญแก่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และนับวันจะมีความสำคัญขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากความต้องการของธุรกิจและอุตสาหรกรรมของประเทศประกอบกับได้มีผู้สำเร็จการศึกษาวิชาการบัญชีจากมหาวิทยาลัย และสำนักศึกษาต่าง ๆ มากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดคุณสมบัติและพื้นความรู้ของผู้สอบบัญชีให้อยู่ในมาตรฐานและมีการควบคุมการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตให้เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชี และเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่รัฐ และบุคคลที่เกี่ยวข้องและเป็นผลดีแก่วิชาชีพการสอบบัญชีด้วย เพื่อให้เป็นไปตามความมุ่งหมายดังกล่าว พระราชบัญญัติผู้สอบบัญชีได้กำหนดให้มีคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี หรือก.บช. กับทั้งให้จัดตั้งสำนักงาน ก.บช. ขึ้นในกระทรวงเศรษฐการเพื่อบริหารงานตามที่ได้รับมอบหมาย
สิทธิและหน้าที่ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมีสิทธิลงลายมือชื่อรับรองการสอบบัญชีในฐานะผู้สอบบัญชีของธุรกิจที่กฎหมายบัญญัติให้มีการสอบบัญชีหรือให้มีผู้สอบบัญชี และมีสิทธิลงลายมือชื่อรับรอง เอกสาร ในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีผู้สอบบัญชีรับรองสำหรับสิทธิประการแรก ผู้ซึ่งมิได้เป็น ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจะลงลายมือชื่อรับรองการสอบบัญชีในฐานะผู้สอบบัญชีไม่ได้ ถ้าฝ่าฝืนก็ มีความผิด แต่สำหรับสิทธิประการที่สอง มีผลแต่เพียงว่า เอกสารที่ทำขึ้นไม่มีผลตามกฎหมายนั้นๆ ถ้ามิได้รับรองโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมีหน้าที่ดังนี้
1.ต้องรักษามรรยาทตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวงถ้าฝ่าฝืนอาจถูกสั่งพักหรือ เพิกถอนใบอนุญาต
2.ในกรณีที่มีการย้ายสำนักงานหรือมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนต้องแจ้งต่อ นายทะเบียนภายในกำหนด 15 วัน นับตั้งแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
อายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมีอายุ 5 ปี นับแต่ออกใบอนุญาตตามข้อบังคับ ของ ก.บช. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต้องต่ออายุใบอนุญาตภายในระยะเวลา 3 เดือน ก่อนวันที่ใบ อนุญาตสิ้นอายุ และต้องชำระค่าธรรมเนียมก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุด้วย มิฉะนั้นเป็นอันขาด จากการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ที่มา : http://www.suretax-accounting.com
สิทธิและหน้าที่ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมีสิทธิลงลายมือชื่อรับรองการสอบบัญชีในฐานะผู้สอบบัญชีของธุรกิจที่กฎหมายบัญญัติให้มีการสอบบัญชีหรือให้มีผู้สอบบัญชี และมีสิทธิลงลายมือชื่อรับรอง เอกสาร ในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีผู้สอบบัญชีรับรองสำหรับสิทธิประการแรก ผู้ซึ่งมิได้เป็น ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจะลงลายมือชื่อรับรองการสอบบัญชีในฐานะผู้สอบบัญชีไม่ได้ ถ้าฝ่าฝืนก็ มีความผิด แต่สำหรับสิทธิประการที่สอง มีผลแต่เพียงว่า เอกสารที่ทำขึ้นไม่มีผลตามกฎหมายนั้นๆ ถ้ามิได้รับรองโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมีหน้าที่ดังนี้
1.ต้องรักษามรรยาทตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวงถ้าฝ่าฝืนอาจถูกสั่งพักหรือ เพิกถอนใบอนุญาต
2.ในกรณีที่มีการย้ายสำนักงานหรือมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนต้องแจ้งต่อ นายทะเบียนภายในกำหนด 15 วัน นับตั้งแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
อายุใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมีอายุ 5 ปี นับแต่ออกใบอนุญาตตามข้อบังคับ ของ ก.บช. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต้องต่ออายุใบอนุญาตภายในระยะเวลา 3 เดือน ก่อนวันที่ใบ อนุญาตสิ้นอายุ และต้องชำระค่าธรรมเนียมก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุด้วย มิฉะนั้นเป็นอันขาด จากการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ที่มา : http://www.suretax-accounting.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น